วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเปรียบเทียบภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ขอบเขตของเนื้อหา



การเปรียบเทียบภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551
สุดาพร  ใจเที่ยง
ที่มาของการเปลี่ยนแปลงของหลักสูตร
กระทรวง ศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  ในโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนเครือข่าย  ตั้งแต่ปีการศึกษา  2545  และใช้ในโรงเรียนทั่วไป  ตั้งแต่ปีการศึกษา  2546  เป็นต้นมาจนถึงปีการศึกษา  2551
หน่วย งานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบโดยตรง  และมีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้หลักสูตรฉบับดังกล่าวนี้  ได้ติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง  พบว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  มีจุดดีหลายประการ  เช่น 
- หลักสูตรช่วยส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการศึกษา
- ทำให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วม  มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
- มีแนวคิดและหลักการในการส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมอย่างชัดเจน
อย่าง ไรก็ตาม  ผลการศึกษาดังกล่าว  ยังได้สะท้อนให้เห็นถึงประเด็นที่เป็นปัญหาและความไม่ชัดเจนของหลักสูตรหลาย ประการ  ทั้งในส่วนของเอกสารหลักสูตร กระบวนการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ  และผลผลิตที่เกิดจากการใช้หลักสูตร  ได้แก่ 
- ปัญหาความสับสนของผู้ปฏิบัติในระดับสถานศึกษา  ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
- สถานศึกษาส่วนใหญ่กำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้มาก  ทำให้เกิดปัญหาหลักสูตรแน่น
- การวัดและประเมินผลไม่สะท้อนมาตรฐาน
- ส่งผลต่อปัญหาการจัดทำเอกสารหลักฐานทางการศึกษา  และการเทียบโอนผลการเรียน
- รวมทั้งปัญหาคุณภาพของผู้เรียนในด้านความรู้  ทักษะ  ความสามารถ  และคุณลักษณะที่พึงประสงค์อันยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
                คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน  ได้ดำเนินการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  เพื่อพัฒนาไปสู่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัย  ประกอบกับข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  10  (พ.ศ.  2550 – 2554)  เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคนในสังคมไทย  และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่  21  จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  ที่มีความ เหมาะสมชัดเจนยิ่งขึ้น  ทั้งเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  และกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถาน ศึกษา  โดยได้มีการกำหนด
- วิสัยทัศน์
- จุดหมาย
- สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
- คุณลักษณะอันพึงประสงค์
- มาตรฐานการเรียนรู้  และตัวชี้วัด
- โครงสร้างเวลาเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปี
- ตลอดจนเกณฑ์การวัดประเมินผลให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้  และมีความชัดเจนต่อการนำไปปฏิบัติ
เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตร  การเรียนการสอนในแต่ละระดับโดยเปิดโอกาสให้สถานศึกษาเพิ่มเติมได้ตามความพร้อมและจุดเน้น
จาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  จึงส่งผลให้การจัดทำหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทย  หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวปรัชญาสารัตถนิยมได้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เช่นกัน
    ความหมายของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น
    เพื่อ ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเปรียบเทียบภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้อง ถิ่นของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  และสรุปว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร  จึงขออธิบายความหมายของภูมิปัญญา  ภูมิปัญญาไทย  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ที่ให้ไว้โดยสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  เล่มที่  23 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
    ภูมิปัญญา  ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า  Wisdom  หมาย ถึง  ความรู้  ความสามารถ  ทักษะความเชื่อ  และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมา  จากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสาย  และเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
    ภูมิปัญญาไทย  หมายถึง  ความรู้  ความสามารถ  ทักษะ  และเทคนิคการ ตัดสินใจ  ผลิตผลงานของบุคคล  อันเกิดจากการสะสมองค์ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด  พัฒนาปรับปรุง  และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดี  สามารถแก้ไขปัญหา  และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
    ภูมิปัญญาท้องถิ่น  หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เอง  และนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี  เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้าง  และทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง  ทำเอง  โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม  กับยุคสมัย
    ความ เหมือนกันของภูมิปัญญาไทย  และภูมิปัญญาท้องถิ่น  คือ  เป็นองค์ความรู้  เทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา  และการตัดสินใจ  ซึ่งได้สืบทอด  เชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
    ความต่างกันของภูมิปัญญาไทย  และภูมิปัญญาท้องถิ่น  คือ  ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์ความรู้  และความสามารถโดยส่วนรวมเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
    ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่น  เป็นองค์ความรู้  และความสามารถในระดับท้องถิ่นซึ่งมีขอบเขตจำกัดในแต่ละท้องถิ่น  เช่น  ภาษาไทยเป็นภูมิปัญญาไทย  ในขณะที่ภาษาอีสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น  เป็นต้น
      ต่อไปเป็นการเปรียบเทียบภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นของหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  ดังรายละเอียดต่อไปนี้
      จุดหมาย
      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
      พุทธศักราช  2544
      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
      พุทธศักราช  2551
      - มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
      - มี จิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่ง ที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
      สาระและมาตรฐานการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
      พุทธศักราช  2544
      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
      พุทธศักราช  2551
      สาระที่ 4 : หลักการใช้ภาษา
      มาตรฐาน ท 4.1 : เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
      สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย
      มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษา ภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
      มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
      ตัวชี้วัดชั้นปี  (ป.1 - ม.3)
      และตัวชี้วัดช่วงชั้น  (ม.4 - 6)
      ช่วงชั้นที่  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 - 3
      1.  สามารถสะกดคำโดยนำเสียงและรูปของพยัญชนะ  สระ  และวรรณยุกต์ประสมเป็นคำอ่านและเขียนคำได้ตามถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของภาษา
      4.  เข้าใจว่าภาษาไทยมีทั้งภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น
      5.  สามารถเลือกใช้คำคล้องจองแต่งบทร้อยกรองง่าย ๆ
      6.  สามารถนำปริศนา  คำทาย  และบทร้องเล่นในท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนและเล่น
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  1
      1. บอกและเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์  และเลขไทย
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  2
      1. บอกและเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์  และเลขไทย
      4. บอกลักษณะคำคล้องจอง
      5. เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  3
      5. แต่งคำ  คล้องจอง  และคำขวัญ
      6. เลือกใช้  ภาษาไทย  มาตรฐาน  และภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
      ช่วงชั้นที่  2  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 - 6
      1.  สามารถสะกดคำในวงคำศัพท์ที่กว้างและยากขึ้น  อ่านและเขียนคำได้ถูกต้องคล่องแคล่ว
      3.  สามารถใช้ภาษาในการสนทนา  เชื้อเชิญ  ชักชวน  ปฏิเสธ  ชี้แจง  ด้วยถ้อยคำสุภาพและใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้อง  รู้จักคิดไตร่ตรองก่อนพูดและเขียน
      4.  เข้าใจลักษณะของคำไทย  คำภาษาถิ่น  คำภาษาต่างประเทศ  ที่ปรากฏในภาษาไทยซึ่งทำให้มีคำใช้มากขึ้น
      5.  สามารถแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์และกลอนโดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์
      6.  สามารถเล่านิทานพื้นบ้าน  และตำนานพื้นบ้านในท้องถิ่นอย่างเห็นคุณค่า
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  4
      1. สะกดคำและบอกความหมายของคำในบริบทต่างๆ
      5. แต่งบทร้อยกรองและคำขวัญ
      6. บอกความหมายของสำนวน
      7. เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐาน
      กับภาษาถิ่นได้
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  5
      3. เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาถิ่น
      4. ใช้คำราชาศัพท์
      6. แต่งบทร้อยกรอง
      7. ใช้สำนวนได้ถูกต้อง
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  6
      5. แต่งบทร้อยกรอง
      6. วิเคราะห์และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็น
      คำพังเพยและสุภาษิต
      ช่วงชั้นที่  3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 3
      1.  เข้าใจการสร้างคำไทยตามหลักเกณฑ์ของภาษา
      3.  สามารถใช้ภาษาแสดงความคิดเห็นสร้างความเข้าใจโน้มน้าวใจ  ปฏิเสธเจรจาต่อรองด้วยภาษาและกิริยาท่าทางที่สุภาพ  ใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล  คิดไตร่ตรองและลำดับความคิดก่อนพูดและเขียน
      4.  เข้าใจธรรมชาติของภาษา  การนำคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย  ทำให้ภาษาไทยมีวงคำศัพท์เพิ่มขึ้นตามความเจริญทางวิชาการและเทคโนโลยี
      5.  สามารถแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์แบะกลอนโดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์
      6.  สามารถร้องเล่นหรือถ่ายทอดเพลงพื้นบ้านและบทกล่อมเด็กในท้องถิ่นอย่างเห็นคุณค่า
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
      5. แต่งบทร้อยกรอง
      6. จำแนกและใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
      3. แต่งบทร้อยกรอง
      4. ใช้คำราชาศัพท์
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
      6. แต่งบทร้อยกรอง









      ช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
      1.  เข้าใจธรรมชาติของภาษา  พลังของภาษาและลักษณะของภาษาไทย
      3.  สามารถใช้ภาษาสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น  แสดง
      ความ คิดเห็นเชิงโต้แย้ง  ใช้ภาษาในการให้ความร่วมมือด้วยการใช้ถ้อยคำและกิริยาท่าทางที่สุภาพ  สามารถใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล  คิดไตร่ตรองและลำดับความคิดก่อนพูดและเขียน
      4.  เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของภาษารวมทั้งอิทธิพลของภาษาถิ่นและภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย
      5.  สามารถแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์  กลอน  โคลง  ฉันท์  และร่าย  ด้วยถ้อยคำไพเราะแสดงออกทางอารมณ์และคุณค่าทางความคิด
      6.  ศึกษา  รวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้านศึกษาความหมายของภาษาถิ่น  สำนวน  ภาษิตที่มีในวรรณกรรมพื้นบ้านและวิเคราะห์คุณค่าทางด้านภาษาและสังคม
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
      3. ใช้ภาษาเหมาะสมแก่โอกาสกาลเทศะ และบุคคล รวมทั้งคำราชาศัพท์อย่างเหมาะสม
      4. แต่งบทร้อยกรอง
      5. วิเคราะห์อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ
      และภาษาถิ่น

      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544
      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551
      สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม
      มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
      สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม
      มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
      มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
      ตัวชี้วัดชั้นปี  (ป.1 - ม.3)
      และตัวชี้วัดช่วงชั้น  (ม.4 - 6)
      ช่วงชั้นที่  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 - 3
      1.  สามารถอ่านนิทานเรื่องสั้นง่าย ๆ สำหรับเด็ก  สารคดี  บทความ  บทร้อยกรอง  และบทละครเหมาะกับวัยของเด็ก  ให้ได้ความรู้และความบันเทิงได้ข้อคิดเห็นจากการอ่านและนำไปใช้ในชีวิตจริง
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  1
      1. บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟัง
      วรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็ก
      2. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  2
      1. ระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรมสำหรับเด็ก  เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
      2. ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น
      3. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  3
      1. ระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
      2. รู้จักเพลงพื้นบ้านและเพลงกล่อมเด็กเพื่อปลูกฝังความชื่นชมวัฒนธรรมท้องถิ่น
      3. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีที่อ่าน
      4. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
      ช่วงชั้นที่  2  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 - 6
      1.  สามารถเลือกอ่านหนังสือได้หลากหลาย  ทั้งนิทาน  ตำนาน  เรื่องสั้น  สารคดี  บทความ  บทร้อยกรอง  บทละคร  ตามจุดประสงค์ของการอ่านใช้หลักการพิจารณาหนังสือ  พิจารณาให้เห็นคุณค่า  และนำไปใช้ในชีวิตจริง
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  4
      1. ระบุข้อคิดจากนิทานพื้นบ้านหรือนิทานคติธรรม
      3. ร้องเพลงพื้นบ้าน
      4. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  5
      1. สรุปเรื่องจากวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่อ่าน
      2. ระบุความรู้และข้อคิดจากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง
      3. อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม
      4. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  6
      1. แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่อ่าน
      2. เล่านิทานพื้นบ้านท้องถิ่นตนเอง และนิทานพื้นบ้านของท้องถิ่นอื่น
      3. อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
      4. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
      ช่วงชั้นที่  3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 3
      1.  สามารถอ่านบทกวีนิพนธ์ประเภทกลอน  โคลง  กาพย์  บทละคร  บทกวีร่วมสมัย  และวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น  นวนิยาย  สารคดี  บันทึกพงศาวดาร  และสามารถเลือกอ่านได้ตรงจุดประสงค์ของการอ่าน  ใช้หลักการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมพิจารณาคุณค่าทั้งด้านวรรณศิลป์  เนื้อหาและคุณค่าทางสังคม  และนำไปใช้ในชีวิตจริง
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
      1. สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน
      2. วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านพร้อมยกเหตุผลประกอบ
      3. อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน
      5. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
      1. สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านในระดับที่ยากขึ้น
      2. วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดี  วรรณกรรมและวรรณกรรมท้องถิ่นที่อ่านพร้อมยกเหตุผลประกอบ
      3. อธิบายคุณค่าของวรรณคดี และวรรณกรรมที่อ่าน
      4. สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
      5. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
      1. สรุปเนื้อหาวรรณคดีวรรณกรรมและวรรณกรรมท้องถิ่น ในระดับที่ยากยิ่งขึ้น
      2. วิเคราะห์วิถีไทย และคุณค่าจากวรรณคดี และ
      วรรณกรรมที่อ่าน
      4. ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจและนำไปใช้อ้างอิง
      ช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
      1.  สามารถอ่านบทกวีนิพนธ์ประเภทกาพย์  กลอน  ร่าย  โคลง  ฉันท์  ลิลิต 
      บท ละคร  และวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น  นวนิยาย  สารคดี  และบทความ  สามารถใช้หลักการวิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น  พิจารณาเรื่องที่อ่านโดยวิเคราะห์องค์ประกอบของงานประพันธ์แต่ละชนิด  เพื่อประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์  เนื้อหา  และคุณค่าทางสังคมและนำไปใช้ในชีวิตจริง
      2.  สามารถเข้าใจประวัติวรรณคดีและวรรณกรรมในแต่ละสมัย  ปัจจัยแวดล้อมที่มีส่วนให้เกิดวรรณคดีและวรรณกรรม  และเข้าใจวิวัฒนาการทางวรรณคดีและวรรณกรรมในแต่ละสมัย  เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานในการเข้าใจโลกทัศน์และวิถีชีวิตของคนไทย
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
      1. วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น
      2. วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของสังคมในอดีต
      3. วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีและวรรณกรรมในฐานะที่เป็น
      มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
      4. สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
      5. รวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้านและอธิบายภูมิปัญญาทางภาษา
      6. ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ และนำไปใช้อ้างอิง

      คุณภาพของผู้เรียน
      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
      พุทธศักราช  2544
      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
      พุทธศักราช  2551
      ช่วงชั้นที่  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 - 3
      -  เข้าใจว่าภาษาไทยมีทั้งภาษาไทยกลางหรือภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น
      - นำปริศนาคำทายและบทร้อยเล่นในท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนและเล่น
      จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
      - สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ ความแตกต่างของคำและพยางค์ หน้าที่ของคำในประโยค มีทักษะการใช้พจนานุกรมในการค้นหาความหมายของคำ แต่งประโยคง่ายๆ แต่งคำคล้องจอง
      แต่งคำขวัญ และเลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
      - เข้าใจและสามารถสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปใช้ ในชีวิตประจำวัน แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดีที่อ่าน รู้จักเพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก ซึ่งเป็น
      วัฒนธรรมของท้องถิ่น ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น ท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจได้
      ช่วงชั้นที่  2  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 - 6
      - เข้าใจลักษณะของคำไทย  คำภาษาถิ่น  และคำภาษาต่างประเทศที่ปรากฏในภาษาไทย
      - เล่านิทานพื้นบ้านและตำนานพื้นบ้านในท้องถิ่น
      จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
      - สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ สำนวน คำพังเพยและสุภาษิต รู้และเข้าใจ ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ชนิดของประโยค และคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ใช้คำราชาศัพท์และคำสุภาพได้อย่างเหมาะสม แต่งประโยค แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่ กลอนสุภาพ และ
      กาพย์ยานี 11
      - เข้าใจและเห็นคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน เล่านิทานพื้นบ้าน ร้องเพลงพื้นบ้านของท้องถิ่น นำข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง และท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดได้
      ช่วงชั้นที่  3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 3
      - ร้องเล่นหรือถ่ายทอดเพลงพื้นบ้านและบทกล่อมเด็กในท้องถิ่น
      จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
      - เข้าใจและใช้คำราชาศัพท์ คำบาลีสันสกฤต คำภาษาต่างประเทศอื่นๆ คำทับศัพท์ และศัพท์บัญญัติในภาษาไทย วิเคราะห์ความแตกต่างในภาษาพูด ภาษาเขียน โครงสร้างของประโยครวม
      ประโยคซ้อน ลักษณะภาษาที่เป็นทางการ กึ่งทางการและไม่เป็นทางการ และแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ กาพย์ และโคลงสี่สุภาพ

      - สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน วิเคราะห์ตัวละครสำคัญ วิถีชีวิตไทย และคุณค่าที่ได้รับจากวรรณคดีวรรณกรรมและบทอาขยาน พร้อมทั้งสรุปความรู้ข้อคิดเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ใน
      ชีวิตจริง
      ช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
      - เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของภาษา  รวมทั้งอิทธิพลของภาษาถิ่นและภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย
      - เข้าใจประวัติวรรณคดีและวรรณกรรมในแต่ละยุค  และใช้หลักการวิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้นพิจารณาเรื่องที่อ่านและนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวัน
      - ศึกษา  รวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้าน  ศึกษาความหมายของภาษาถิ่น  สำนวน  สุภาษิตที่มีในวรรณกรรมพื้นบ้าน  และวิเคราะห์คุณค่าทางด้านภาษาและสังคม
      จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
      - เข้าใจธรรมชาติของภาษา อิทธิพลของภาษา และลักษณะของภาษาไทย ใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคได้ตรงตามวัตถุประสงค์ แต่งคำประพันธ์ประเภท กาพย์ โคลง ร่ายและฉันท์ ใช้ภาษาได้
      เหมาะ สมกับกาลเทศะและใช้คำราชาศัพท์และคำสุภาพได้อย่างถูกต้อง วิเคราะห์หลักการ สร้างคำในภาษาไทย อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทยและภาษาถิ่น วิเคราะห์และประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
      - วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น รู้และเข้าใจลักษณะเด่นของวรรณคดี ภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรมพื้นบ้าน เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีไทย ประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ และนำ
      ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมไป
      ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
      สาระและมาตรฐานการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
      พุทธศักราช  2544
      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
      พุทธศักราช  2551
      สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
      มาตรฐาน ส 2.1 ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีตามกฎหมาย  ประเพณี  และวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
      สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
      มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
      มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
      ตัวชี้วัดชั้นปี  (ป.1 - ม.3)
      และตัวชี้วัดช่วงชั้น  (ม.4 - 6)
      ช่วงชั้นที่  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 - 3
      3.  รู้และปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานและวัฒนธรรมในครอบครัว  ท้องถิ่น  ตลอดจนเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติ  รวมทั้งเคารพในความคิด  ความเชื่อ  และการปฏิบัติบุคคลอื่นที่แตกต่างกันไปโดยปราศจากอคติ
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  1
      -
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  2
      2.ปฏิบัติตนตามมารยาทไทย
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  3
      1. สรุปประโยชน์และปฏิบัติตนตามประเพณีและวัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น
      ช่วงชั้นที่  2  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 - 6
      3.  เข้าใจและปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานและวัฒนธรรมในจังหวัด  ภาค  และประเทศ  รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญในวัฒนธรรมของคนในสังคมที่มีความหลากหลายและยอ รับในคุณค่าซึ่งกันและกัน
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  4
      4. อธิบายความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนในท้องถิ่น
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  5
      3. เห็นคุณค่าวัฒนธรรมไทยที่มีผลต่อการ
      ดำเนินชีวิตในสังคมไทย
      4. มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเผยแพร่
      ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  6
      2. วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลาและธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม
      3. แสดงออกถึงมารยาทไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
      4. อธิบายคุณค่าทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มคนในสังคมไทย
      ช่วงชั้นที่  3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 3
      3.  เข้าใจระบบสถาบันทางสังคม  เห็นคุณค่าในภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย  ปฏิบัติตนเพื่อรักษาวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและของชาติ  รวมทั้งเปรียบเทียบความคล้ายคลึงและ
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
      3. อภิปรายเกี่ยวกับคุณค่าทางวัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี หรืออาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดต่อกัน
      ความแตกต่างของวัฒนธรรมในภาคต่าง ๆ ของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน  เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
      4. อธิบายความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศ ในภูมิภาคเอเชียเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
      3. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและเลือกรับวัฒนธรรมสากลที่เหมาะสม
      ช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
      3.  ตระหนักในความสำคัญของระบบสถาบันทางสังคม  เห็นคุณค่าของภูมิปัญญา  วัฒนธรรมไทย  และนานาประเทศ  สามารถวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์  เพื่อนำไปสู่การเลือกรับวัฒนธรรมที่เหมาะสมอย่างมีวิจารณญาณ  รวมทั้งตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุง  เปลี่ยนแปลง  และอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามของชาติให้คงอยู่สืบไป
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 – 6
      5. วิเคราะห์ความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย และเลือกรับวัฒนธรรมสากล

      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544
      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551
      สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
      มาตรฐาน ส 4.3 : เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทยมีความภาคภูมิใจ และธำรงความเป็นไทย
      สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
      มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรักความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
      มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
      ตัวชี้วัดชั้นปี  (ป.1 - ม.3)
      และตัวชี้วัดช่วงชั้น  (ม.4 - 6)
      ช่วงชั้นที่  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 - 3
      1.  รู้จักและเข้าใจความเป็นมาของท้องถิ่นของตนที่สัมพันธ์กับความเป็นมาของชาติไทย
      2.  รู้จักและเข้าใจผลงานที่เกิดจากภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
      3.  รู้และเข้าใจประวัติบุคคลสำคัญในท้องถิ่นของตนและนำไปเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  1
      2. บอก สถานที่สำคัญซึ่งเป็นแหล่งวัฒนธรรมในชุมชน
      3. ระบุสิ่งที่ตนรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  2
      2. ยกตัวอย่างวัฒนธรรมประเพณีและ
      ภูมิปัญญาไทยที่ภาคภูมิใจและควรอนุรักษ์ไว้
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  3
      -
      ช่วงชั้นที่  2  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 - 6
      1.  รู้และเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการ  การตั้งถิ่นฐานของรัฐไทย  ในดินแดนประเทศไทยตั้งอดีตถึงปัจจุบัน
      2.  เข้าใจปัจจัยพื้นฐานและผลกระทบจากภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
      3.  รู้และเข้าใจประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยตั้งแต่ อดีตถึงปัจจุบัน  จนเกิดความภูมิใจ  นำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  4
      3. อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญสมัยสุโขทัย ที่น่าภาคภูมิใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  5
      4. อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญสมัยอยุธยาและธนบุรีที่น่าภาคภูมิใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
      ชั้นประถมศึกษาปีที่  6
      4. อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญสมัยรัตนโกสินทร์ที่น่าภาคภูมิใจและควรค่าแก่
      การอนุรักษ์ไว้
      ช่วงชั้นที่  3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 3
      1.  รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาการของเศรษฐกิจการเมือง  การปกครอง  สังคม  ศิลปวัฒนธรรม  และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐไทย  ในดินแดนประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและเกิดความภูมิใจในความเป็นไทย
      2.  คิดวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและผลกระทบจากภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
      3.  วิเคราะห์และเปรียบเทียบผลงานของบุคคลสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มี ผลกระทบต่อเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ชาติไทยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีและนำไป ใช้ในการดำเนินชีวิต
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
      3. วิเคราะห์  อิทธิพลของวัฒนธรรมและ
      ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัยและสังคมไทยในปัจจุบัน
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
      3. ระบุภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยาและธนบุรีและอิทธิพลของภูมิปัญญาดังกล่าวต่อการพัฒนาชาติไทยในยุคต่อมา
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
      3. วิเคราะห์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
      สมัยรัตนโกสินทร์และอิทธิพลต่อการพัฒนาชาติไทย
      ช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
      1.  สรุปแนวคิดของพัฒนาการประวัติศาสตร์ไทย  โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์
      2.  ศึกษากรณีตัวอย่างภูมิปัญญาไทยที่มีอิทธิพลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยและอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของชาติด้วยความภูมิใจ
      3.  ศึกษาวิเคราะห์ผลงานตัวอย่างของบุคคลสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศทีมีส่วนสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย  และประวัติศาสตร์ชาติไทย
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 – 6
      3. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทยซึ่งมีผลต่อสังคมไทยในยุคปัจจุบัน
      5. วางแผนกำหนดแนวทางและมีส่วน
      ร่วมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทย
      คุณภาพของผู้เรียน
      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544
      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551
      ช่วงชั้นที่  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 - 3
      - ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและผู้ที่อยู่รอบข้าง  ตลอดจนสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นที่อยู่อาศัย  และเชื่อมโยงประสบการณ์ไปสู่โลกกว้าง
      - ได้ รับการพัฒนาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  หน้าที่พลเมือง  เศรษฐศาสตร์  ประวัติศาสตร์  และภูมิศาสตร์  เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจในขั้นที่สูงต่อไป
      จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
      - มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและผู้ที่อยู่รอบข้าง ตลอดจนสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น ที่อยู่อาศัยและเชื่องโยงประสบการณ์ไปสู่โลกกว้าง
      - รู้และเข้าใจในแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์  ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจในขั้นที่สูงต่อไป
      ช่วงชั้นที่  2  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 - 6
      - ได้เรียนรู้เรื่องของจังหวัด  ภาค  และประเทศของตนเอง  ทั้งเชิงประวัติศาสตร์  ลักษณะทางกายภาพ  สังคม  ประเพณี  และวัฒนธรรม  รวมทั้งการเมืองการปกครอง  และสภาพเศรษฐกิจ  โดยเน้นความเป็นประเทศไทย 
      - ได้ศึกษาและปฏิบัติตนตามสถานภาพ  บทบาท  สิทธิหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของท้องถิ่น  จังหวัด  ภาค  และประเทศ  รวมทั้งได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมตามขนบธรรมเนียม  ประเพณี  วัฒนธรรมของท้องถิ่นตนเองมากยิ่งขึ้น
      - ได้รับการพัฒนาแนวคิดทางสังคมศาสตร์เกี่ยวกับศาสนา  ศีลธรรม  จริยธรรม  หน้าที่พลเมือง  เศรษฐศาสตร์  ประวัติศาสตร์  และภูมิศาสตร์  เพื่อขยายประสบการณ์ไปสู่การทำความเข้าใจในภูมิภาคซีกโลกตะวันออกและตะวันตก เกี่ยวกับศาสนา  คุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยม  ความเชื่อ  ขนบธรรมเนียม  ประเพณี  วัฒนธรรม  การดำเนินชีวิต
      การจัดระเบียบทางสังคม  และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากอดีตสู่ปัจจุบัน
      จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
      - มีความรู้เรื่องของจังหวัด ภาค และประเทศของตนเอง ทั้งเชิงประวัติศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพ  สังคม  ประเพณี และวัฒนธรรม รวมทั้งการเมือง การปกครอง และสภาพเศรษฐกิจโดยเน้นความเป็นประเทศไทย
      - มี ความรู้และความเข้าใจในเรื่องศาสนา  จริยธรรม  ปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ  รวมทั้งมีส่วนร่วมศาสนพิธีและพิธีกรรมของศาสนามากยิ่งขึ้น
      - ปฏิบัติ ตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของท้องถิ่น จังหวัด ภาค และประเทศ รวมทั้งได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น
      ตนเอง มากยิ่งขึ้น
      - สามารถ เปรียบเทียบเรื่องราวของจังหวัดและภาคต่างๆของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้รับการพัฒนาแนวคิดทางสังคมศาสตร์ เกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เพื่อขยายประสบการณ์ไปสู่การทำความเข้าใจในภูมิภาคซีกโลกตะวันออกและตะวันตก เกี่ยวกับศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม
      ประเพณี วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต การจัดระเบียบทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากอดีตสู่ปัจจุบัน
      ช่วงชั้นที่  3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 3
      - ได้รับการพัฒนาแนวคิดและขยายประสบการณ์เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ในโลก  ได้แก่  เอเชีย  โอเชียเนีย  แอฟริกา  ยุโรป  อเมริกาเหนือ  อเมริกาใต้  ในด้านศาสนา  คุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยม  ความเชื่อ  ขนบธรรมเนียม  ประเพณี  วัฒนธรรม  การเมืองการปกครอง  ประวัติศาสตร์  และภูมิศาสตร์  ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
      จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
      - มี ทักษะที่จำเป็นต่อการเป็นนักคิดอย่างมีวิจารณญาณได้รับการพัฒนาแนวคิด และขยายประสบการณ์ เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ในโลก ได้แก่ เอเชีย  ออสเตรเลีย
      โอเชียเนีย แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ในด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม  ค่า นิยม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ และสังคมศาสตร์
      ช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
      - ได้เรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาไทย  มี
      ความ ภูมิใจในความเป็นไทย  ประวัติศาสตร์ของชาติไทย  ยึดมั่นในวิถีชีวิต  และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
      - ได้รับการส่งเสริมให้มีนิสัยที่ดีในการบริโภค  เลือกและตัดสินใจบริโภคได้อย่างเหมาะสม  มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ประเพณี  วัฒนธรรมไทย  และสิ่งแวดล้อม  มีความรักท้องถิ่นและประเทศชาติ  มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้กับสังคม
      จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
      - มีความรู้เรื่องภูมิปัญญาไทย ความภูมิใจในความเป็นไทย ประวัติศาสตร์ของชาติไทยยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
      - มี นิสัยที่ดีในการบริโภค เลือกและตัดสินใจบริโภคได้อย่างเหมาะสม มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมไทย และสิ่งแวดล้อม มีความรักท้องถิ่นและประเทศชาติ มุ่งทำประโยชน์ และสร้างสิ่งที่ดีงามให้กับสังคม
           สาระและมาตรฐานการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
          หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
          พุทธศักราช  2544
          หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          พุทธศักราช  2551
          สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
          มาตรฐาน ศ 1.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
          สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
          มาตรฐาน ศ 1.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
          มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
          ตัวชี้วัดชั้นปี  (ป.1 - ม.3)
          และตัวชี้วัดช่วงชั้น  (ม.4 - 6)
          ช่วงชั้นที่  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 - 3
          1.  รู้ความเป็นมาของสิ่งที่อยู่รอบตัวที่เกี่ยวข้องกับงานทัศนศิลป์
          2.  สนใจงานทัศนศิลป์อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม  ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  1
          1. ระบุงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  2
          1. บอกความสำคัญของงานทัศนศิลป์ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
          2. อภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ประเภทต่าง ๆในท้องถิ่นโดยเน้นถึงวิธีการสร้างงานและวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  3
          1. เล่าถึงที่มาของงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น
          2. อธิบายเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และวิธีการสร้างงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น
          ช่วงชั้นที่  2  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 - 6
          1.  รู้ความเป็นมาและความสำคัญของศิลปะในท้องถิ่นและศิลปะไทย
          2.  พึงพอใจและยอมรับในภูมิปัญญาของการสร้างงานทัศนศิลป์การสืบทอดการทำงานศิลปะ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม  ประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  4
          1. ระบุ และอภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ในเหตุการณ์ และงานเฉลิมฉลองของวัฒนธรรมในท้องถิ่น
          2. บรรยายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  5
          1. ระบุและบรรยายเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบของงานทัศนศิลป์ในแหล่งเรียนรู้
          หรือนิทรรศการศิลปะ
          2. อภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาใน
          ท้องถิ่น
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  6
          1. บรรยายบทบาทของงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนชีวิตและสังคม
          2. อภิปรายเกี่ยวกับอิทธิพลของความเชื่อ
          ความศรัทธาในศาสนาที่มีผลต่องานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น
          3. ระบุ และบรรยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่มีผลต่อการสร้าง
          งานทัศนศิลป์ของบุคคล
          ช่วงชั้นที่  3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 3
          1.  เข้าใจความเชื่อทางวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการสร้างงานศิลปะ
          2.  ซาบซึ้ง  เห็นคุณค่าศิลปะ  วัฒนธรรมไทย  มีส่วนร่วมในการสร้างงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล
          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
          1. ระบุ และบรรยายเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบงานทัศนศิลป์ของชาติและของท้องถิ่นตนเอง จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
          2. ระบุ และเปรียบเทียบงานทัศนศิลป์
          ของภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย
          3. เปรียบเทียบความแตกต่างของจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของวัฒนธรรมไทยและสากล
          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
          1. ระบุและบรรยายเกี่ยวกับวัฒนธรรม
          ต่าง ๆ ที่สะท้อนถึงงานทัศนศิลป์ในปัจจุบัน
          2. บรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงของงาน
          ทัศนศิลป์ของไทยในแต่ละยุคสมัยโดยเน้นถึงแนวคิด และเนื้อหาของงาน
          3. เปรียบเทียบแนวคิดในการออกแบบงานทัศนศิลป์ที่มาจากวัฒนธรรมไทย และสากล
          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
          1. ศึกษาและอภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม
          2. เปรียบเทียบความแตกต่างของงาน
          ทัศนศิลป์ในแต่ละยุคสมัยของวัฒนธรรม
          ไทยและสากล
          ช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
          1.  เข้าใจรูปแบบยุคสมัยและวิวัฒนาการทางศิลปะ  วัฒนธรรมของไทยและสากล
          2.  เห็นคุณค่า  รักและภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาไทย  เข้าใจการสืบทอด  การทำงานทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมระดับชาติ  และนานาชาติ
          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
          2. ระบุงานทัศนศิลป์ของศิลปินที่มีชื่อเสียง และบรรยายผลตอบรับของสังคม
          3. อภิปรายเกี่ยวกับอิทธิพลของวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่มีผลต่องานทัศนศิลป์ในสังคม

          หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          พุทธศักราช  2544
          หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          พุทธศักราช  2551
          สาระที่ 2 ดนตรี
          มาตรฐาน ศ 2.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
          สาระที่ 2 ดนตรี
          มาตรฐาน ศ 2.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
          มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
          ตัวชี้วัดชั้นปี  (ป.1 - ม.3)
          และตัวชี้วัดช่วงชั้น  (ม.4 - 6)
          ช่วงชั้นที่  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 - 3
          1.  รู้ว่าดนตรีมาจากยุคสมัยและสถานที่ต่างกัน
          2.  สนใจดนตรี  อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  1
          1. เล่าถึงเพลงในท้องถิ่น
          2. ระบุสิ่งที่ชื่นชอบในดนตรีท้องถิ่น
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  2
          1. บอกความสัมพันธ์ของเสียงร้องเสียงเครื่องดนตรีในเพลงท้องถิ่นโดยใช้คำง่าย ๆ
          2. แสดงและเข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรี
          ในท้องถิ่น
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  3
          1. ระบุลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ของดนตรีในท้องถิ่น
          2. ระบุความสำคัญและประโยชน์ของ
          ดนตรีต่อการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น
          ช่วงชั้นที่  2  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 - 6
          1.  รู้ว่าดนตรีสะท้อนให้เห็นถึงแหล่งที่มา
          2.  พึงพอใจและยอมรับในภูมิปัญญาของการสร้างดนตรีการสืบทอดงานดนตรีที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  4
          1. บอกแหล่งที่มาและความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตไทยที่สะท้อนในดนตรีและเพลงท้องถิ่น
          2. ระบุความสำคัญในการอนุรักษ์ส่งเสริม
          วัฒนธรรมทางดนตรี
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  5
          1. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับ
          ประเพณีในวัฒนธรรมต่าง ๆ
          2. อธิบายคุณค่าของดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  6
          1. อธิบายเรื่องราวของดนตรีไทยในประวัติศาสตร์
          2. จำแนกดนตรีที่มาจากยุคสมัยที่ต่างกัน
          3. อภิปรายอิทธิพลของวัฒนธรรมต่อดนตรีในท้องถิ่น
          ช่วงชั้นที่  3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 3
          1.  เข้าใจความเชื่อทางวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อดนตรี
          2.  มีส่วนร่วม  และซาบซึ้งในกิจกรรมดนตรีที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล
          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
          1. อธิบายบทบาทความสัมพันธ์และอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อสังคมไทย
          2. ระบุความหลากหลายขององค์ประกอบ
          ดนตรีในวัฒนธรรมต่างกัน
          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
          1. บรรยายบทบาท และอิทธิพลของ
          ดนตรีในวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ
          2. บรรยายอิทธิพลของวัฒนธรรม และ
          เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่มีต่อรูปแบบ
          ของดนตรีในประเทศไทย
          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
          1. บรรยายวิวัฒนาการของดนตรีแต่ละยุคสมัย
          2. อภิปรายลักษณะเด่นที่ทำให้งานดนตรีนั้นได้รับการยอมรับ
          ช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
          1.  เข้าใจยุคสมัยและวิวัฒนาการของดนตรีไทยและสากล
          2.  เห็นคุณค่า  รักและภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาไทย  เข้าใจการสืบทอดดนตรีที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมระดับชาติและนานาชาติ
          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
          1. วิเคราะห์รูปแบบของดนตรีไทยและดนตรีสากลในยุคสมัยต่าง ๆ
          2. วิเคราะห์สถานะทางสังคมของ
          นักดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ
          3.เปรียบเทียบลักษณะเด่นของดนตรีในวัฒนธรรมต่างๆ
          4. อธิบายบทบาทของดนตรีใน
          การสะท้อนแนวความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม
          5. นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีในฐานะมรดกของชาติ

          หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          พุทธศักราช  2544
          หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          พุทธศักราช  2551
          สาระที่ 3 นาฏศิลป์
          มาตรฐาน ศ 3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
          สาระที่ 3 นาฏศิลป์
          มาตรฐาน ศ 3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
          มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
          ตัวชี้วัดชั้นปี  (ป.1 - ม.3)
          และตัวชี้วัดช่วงชั้น  (ม.4 - 6)
          ช่วงชั้นที่  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 - 3
          1.  นำประสบการณ์การเรียนรู้นาฏศิลป์  และละครสร้างสรรค์มาทำความเข้าใจกับประสบการณ์ของตนเองและครอบครัว
          2.  สนใจนาฏศิลป์อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม  ประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  1
          1. ระบุ และเล่นการละเล่นของเด็กไทย
          2. บอกสิ่งที่ตนเองชอบในการแสดง
          นาฏศิลป์ไทย
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  2
          1. ระบุและเล่นการละเล่นพื้นบ้าน
          2. เชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นในการละเล่น
          พื้นบ้านกับสิ่งที่พบเห็นในการดำรงชีวิต
          ของคนไทย
          3. ระบุสิ่งที่ชื่นชอบและภาคภูมิใจในการละเล่นพื้นบ้าน
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  3
          1. เล่าการแสดงนาฏศิลป์ที่เคยเห็นในท้องถิ่น
          2. ระบุสิ่งที่เป็นลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ของการแสดงนาฏศิลป์
          3. อธิบายความสำคัญของการแสดง
          นาฏศิลป์
          ช่วงชั้นที่  2  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 - 6
          1.  นำประสบการณ์การเรียนรู้นาฏศิลป์  และละครสร้างสรรค์มาทำความเข้าใจกับบทบาทของมนุษย์ในครอบครัวและสังคม
          2.  พึงพอใจและยอมรับในภูมิปัญญาของการสร้างผลงานการสืบทอดนาฏศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  4
          1. อธิบายประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ หรือชุดการแสดงอย่างง่าย ๆ
          2. เปรียบเทียบการแสดงนาฏศิลป์กับ
          การแสดงที่มาจากวัฒนธรรมอื่น
          3. อธิบายความสำคัญของการแสดง
          ความเคารพในการเรียนและการแสดงนาฏศิลป์
          4. ระบุเหตุผลที่ควรรักษาและสืบทอด
          การแสดงนาฏศิลป์
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  5
          1. เปรียบเทียบการแสดงประเภทต่าง ๆ ของไทยในแต่ละท้องถิ่น
          2. ระบุหรือแสดงนาฏศิลป์นาฏศิลป์พื้นบ้านที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและประเพณี
          ชั้นประถมศึกษาปีที่  6
          1. อธิบายสิ่งที่มีความสำคัญต่อการแสดง
          นาฏศิลป์และละคร
          2. ระบุประโยชน์ที่ได้รับจากการแสดงหรือการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร
          ช่วงชั้นที่  3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 3
          1.  สำรวจและทำความเข้าใจรูปแบบและวิธีการแสดงออกทางนาฏศิลป์  และการละครตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
          2.  ซาบซึ้ง  เห็นคุณค่าวัฒนธรรมไทย  เข้าใจคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล
          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
          1. ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของนาฏศิลป์  นาฏศิลป์พื้นบ้าน ละครไทย และละครพื้นบ้าน
          2. บรรยายประเภทของละครไทยในแต่ละยุคสมัย
          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
          1. เปรียบเทียบลักษณะเฉพาะของ
          การแสดงนาฏศิลป์จากวัฒนธรรมต่างๆ
          2. ระบุหรือแสดงนาฏศิลป์
          นาฏศิลป์พื้นบ้าน ละครไทย ละครพื้นบ้าน หรือมหรสพอื่นที่เคยนิยมกันในอดีต
          3. อธิบายอิทธิพลของวัฒนธรรมที่มี
          ผลต่อเนื้อหาของละคร
          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
          1. ออกแบบและสร้างสรรค์อุปกรณ์และ
          เครื่องแต่งกายเพื่อแสดงนาฏศิลป์และ
          การละครที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ
          2. อธิบายความสำคัญและบทบาทของ
          นาฏศิลป์และการละครในชีวิตประจำวัน
          3. แสดงความคิดเห็นในการอนุรักษ์
          ช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
          1.  สำรวจและทำความเข้าใจกับวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครทั้งของไทยและสากลในบริบททางประวัติศาสตร์  สังคม  และวัฒนธรรม
          2.  เห็นคุณค่า  รัก  และภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาไทย  เข้าใจการสืบทอดนาฏศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมระดับชาติ  และนานาชาติ
          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
          1. เปรียบเทียบการนำการแสดงไป
          ใช้ในโอกาสต่าง ๆ
          2. อภิปรายบทบาทของบุคคล
          สำคัญในวงการนาฏศิลป์และการ
          ละคร ของประเทศไทยในยุคสมัย
          ต่างๆ
          3. บรรยายวิวัฒนาการของ
          นาฏศิลป์และการละครไทย ตั้งแต่
          อดีตจนถึงปัจจุบัน
          4. นำเสนอแนวคิดในการอนุรักษ์
          นาฏศิลป์ไทย
          คุณภาพของผู้เรียน
          หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
          พุทธศักราช  2544
          หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
          พุทธศักราช  2551
          ช่วงชั้นที่  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1 - 3
          - สังเกต  รับรู้  สนใจธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  งานศิลปะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม  ประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น
          จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
          - รู้และเข้าใจความสำคัญของงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน ที่มาของงานทัศนศิลป์
          ในท้องถิ่น ตลอดจนการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการสร้างงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น
          - รู้และเข้าใจเอกลักษณ์ของดนตรีในท้องถิ่น มีความชื่นชอบ เห็นความสำคัญ
          และประโยชน์ของดนตรีต่อการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น
          - รู้และเข้าใจการละเล่นของเด็กไทยและนาฏศิลป์ท้องถิ่น ชื่นชอบและภาคภูมิใจ
          ในการละเล่นพื้นบ้าน สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นในการละเล่นพื้นบ้านกับ
          การดำรงชีวิตของคนไทยบอกลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ของนาฏศิลป์ไทยตลอดจนความสำคัญของการแสดงนาฏศิลป์ไทยได้
          ช่วงชั้นที่  2  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4 - 6
          - ระบุงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในท้องถิ่นได้  อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจประวัติศาสตร์หรือเหตุการณ์ในปัจจุบันมีผลหรือได้รับ อิทธิพลจากงานศิลปะได้
          -  ตระหนัก  ชื่นชมในคุณค่าของศิลปะ  ธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  มรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล
          จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
          - รู้ และเข้าใจบทบาทของงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนชีวิตและสังคม อิทธิพลของความเชื่อความศรัทธา ในศาสนา และวัฒนธรรมที่มีผลต่อการสร้างงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น
          - รู้และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมไทย
          และ วัฒนธรรมต่าง ๆ เรื่องราวดนตรีในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของวัฒนธรรมต่อดนตรี รู้คุณค่าดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างกัน เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์
          - รู้และเข้าใจความสัมพันธ์และประโยชน์ของนาฏศิลป์และการละคร สามารถ
          เปรียบเทียบการแสดงประเภทต่าง ๆ ของไทยในแต่ละท้องถิ่น และสิ่งที่การแสดงสะท้อนวัฒนธรรม  ประเพณี เห็นคุณค่าการรักษาและสืบทอดการแสดงนาฏศิลป์ไทย
          ช่วงชั้นที่  3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 3
          - บรรยายและอธิบายศิลปะสาขาต่าง ๆ ที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม  โดยอภิปรายเปรียบเทียบผลงานศิลปะจากยุคสมัย  วัฒนธรรมต่าง ๆ และให้ความสำคัญในเรื่องบริบททางวัฒนธรรม
          - ซาบซึ้ง  เห็นคุณค่าของศิลปะ  ธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  รัก  หวงแหน  มรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล
          จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
          - รู้และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของงานทัศนศิลป์ของชาติและท้องถิ่น แต่ละยุคสมัย เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรมและสามารถเปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ ที่มา
          จากยุคสมัยและวัฒนธรรมต่าง ๆ
          - รู้และเข้าใจที่มา ความสัมพันธ์ อิทธิพลและบทบาทของดนตรีแต่ละวัฒนธรรม
          ในยุคสมัยต่าง ๆ วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้งานดนตรีได้รับการยอมรับ
          - รู้และเข้าใจประเภทละครไทยในแต่ละยุคสมัย ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
          ของ นาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์พื้นบ้าน ละครไทย และละครพื้นบ้าน เปรียบเทียบลักษณะเฉพาะของการแสดงนาฏศิลป์จากวัฒนธรรมต่าง ๆ รวมทั้งสามารถออกแบบและสร้างสรรค์อุปกรณ์ เครื่องแต่งกายใน
          การแสดงนาฏศิลป์และละคร มีความเข้าใจ ความสำคัญ บทบาทของนาฏศิลป์ และละครในชีวิตประจำวัน
          ช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
          - วิเคราะห์งานศิลปะสาขาต่าง ๆ โดยวิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างของงานศิลปะจากกาลเวลาและวัฒนธรรมที่แตก ต่างกัน  อธิบายเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่องานศิลปะได้
          - เห็นคุณค่าของศิลปะ   ธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  รัก   หวงแหน  ภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล  การสืบทอดงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทย
          จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
          - วิเคราะห์ เปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ในรูปแบบตะวันออกและรูปแบบตะวันตก เข้าใจอิทธิพลของมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาระหว่างประเทศที่มีผลต่อการสร้าง สรรค์งานทัศนศิลป์ในสังคม
          - รู้และเข้าใจรูปแบบบทเพลงและวงดนตรีแต่ละประเภทและจำแนกรูปแบบ
          ของวง ดนตรีทั้งไทยและสากล เข้าใจอิทธิพลของวัฒนธรรมต่อการสร้างสรรค์ดนตรี เปรียบเทียบอารมณ์และความรู้สึกที่ได้รับจากดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างกัน อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากล ในอัตราจังหวะต่าง ๆ มีทักษะในการร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเดี่ยวและรวมวงโดยเน้นเทคนิค การแสดงออกและ
          คุณภาพ ของการแสดง สร้างเกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพการประพันธ์การเล่นดนตรีของตนเองและผู้อื่น ได้อย่างเหมาะสม สามารถนำดนตรีไประยุกต์ใช้ในงานอื่น ๆ
          - วิเคราะห์ เปรียบเทียบรูปแบบ ลักษณะเด่นของดนตรีไทยและสากลในวัฒนธรรม
          ต่าง ๆ เข้าใจบทบาทของดนตรีที่สะท้อนแนวความคิดและค่านิยมของคนในสังคม สถานะทางสังคมของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ สร้างแนวทางและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรี
          - เข้า ใจวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการแสดงละครไทย และบทบาทของบุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์และการละครของประเทศไทยในยุคสมัยต่าง ๆ สามารถเปรียบเทียบการนำการแสดงไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ และเสนอแนวคิดในการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

          อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น

          หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          พุทธศักราช  2544
          หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          พุทธศักราช  2551
          การจัดการเรียนรู้
          หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลักสูตรที่ต้องอาศัยการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู พ่อแม่  ผู้ปกครอง ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นหลักสำคัญ

          สถาน ศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่มีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรจัดทำ และจัดหาสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้
          การจัดการเรียนรู้
          ผู้สอน  จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่น  เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
          การจัดหลักสูตรสถานศึกษา
          จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
          - หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรม  สังคม และวัฒนธรรม และโดยเฉพาะพัฒนาหลักการในการจำแนกระหว่างถูกและผิด เข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ว่ามีอิทธิพลต่อตัวบุคคลและสังคม หลักสูตรสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียนและช่วยให้ เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ สามารถช่วย
          พัฒนา สังคมให้เป็นธรรมขึ้น มีความเสมอภาค ควรพัฒนาความตระหนัก เข้าใจ และยอมรับสภาพแวดล้อมที่ตนดำ รงชีวิตอยู่ ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับส่วนตน ระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับโลก หลักสูตรสถานศึกษาควรสร้างให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ ตัดสินใจแบบมีข้อมูล และเป็นอิสระ และเข้าใจในความรับผิดชอบ

          การสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
          การกำหนดสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค
          สถานศึกษานำ มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของกลุ่มสาระต่าง ๆ จากหลัก
          สูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ และกำหนดสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เป็นรายปีหรือรายภาค ทั้งนี้ต้องพยายามกำหนดให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ตามเป้า หมาย และวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาด้วย พิจารณากำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล พร้อมทั้งการพิจารณาภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และสามารถกำหนดในลักษณะผสมผสานบูรณาการ จัดเป็นชุดการเรียนแบบยึดหัวข้อเรื่อง หรือจัดเป็นโครงงานได้
          การบริหารจัดการหลักสูตร
          - สถานศึกษามีหน้าที่สำคัญในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การวางแผนและดำเนินการใช้หลักสูตร การเพิ่มพูนคุณภาพการใช้หลักสูตรด้วยการวิจัยและพัฒนา การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร
          จัด ทำระเบียบการวัดและประเมินผล ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน และรายละเอียดที่เขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานต้นสังกัดอื่นๆ ในระดับท้องถิ่น
          ได้จัดทำเพิ่มเติม รวมทั้ง สถานศึกษาสามารถเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับ
          สภาพปัญหาในชุมชนและสังคม
          ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความต้องการของผู้เรียน โดยทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

          สรุปความแตกต่างระหว่างภูมิปัญญาไทย  หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
          เมื่อเปรียบเทียบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  พบว่า
          - ในส่วนของสาระและมาตรฐานการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  และศิลปะ  มีความเหมือนกันทั้งสองหลักสูตร
          - ในส่วนของจุดมุ่งหมาย  ตัวชี้วัดชั้นปี  (ป.1 - ม.3)  และตัวชี้วัดช่วงชั้น  (ม.4 - 6)  คุณภาพของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น  จะเห็นว่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  ได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น มากกว่ากับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  กล่าวคือ
          กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ได้แก่  คำคล้องจอง  คำขวัญ  ภาษาถิ่น  ภาษาไทยมาตรฐาน  วรรณคดี  วรรณกรรม  เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก  บทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น ท่องจำบทอาขยาน  สำนวน คำพังเพย  สุภาษิต  คำราชาศัพท์
          คำ สุภาพ  บทร้อยกรองประเภทกลอนสี่ กลอนสุภาพ กาพย์ยานี 11  โคลงสี่สุภาพ  โคลง ร่ายและฉันท์  เล่านิทานพื้นบ้าน ร้องเพลงพื้นบ้านของท้องถิ่น  ภูมิปัญญาทางภาษา  วรรณกรรมพื้นบ้าน
          กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  ได้แก่  ศาสนา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประเพณี และวัฒนธรรม ศาสนพิธี  พิธีกรรมของศาสนา  ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่น
          กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  ได้แก่  งานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น  เอกลักษณ์ของดนตรีในท้องถิ่น การละเล่นของเด็กไทย  การละเล่นพื้นบ้าน  ดนตรีกับวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมไทย  และวัฒนธรรมต่าง ๆ  นาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์พื้นบ้าน ละครไทย ละครพื้นบ้าน เครื่องแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์และละคร  ดนตรีไทยและสากล ประพันธ์การเล่นดนตรี
          เอกสารอ้างอิง
          กระทรวงศึกษาธิการ.  (2544).  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544.
          กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
          กระทรวงศึกษาธิการ.  (2551).  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช
          2551.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
          กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.  (2545).  สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 
          กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช
          2544.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์  (ร.ส.พ.) .
          กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.  (2545).  เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษา
          ขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  คู่มือการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้
          ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์  (ร.ส.พ.) .
          กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.  (2545).  สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
          กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม  ในหลักสูตร
          การศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การ
          รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์  (ร.ส.พ.) .
          กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.  (2545).  เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษา
          ขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  คู่มือการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้
          สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า
          และพัสดุภัณฑ์  (ร.ส.พ.) .
          กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.  (2545).  สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
          กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช
          2544.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์  (ร.ส.พ.) .
          กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.  (2545).  เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษา
          ขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  คู่มือการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้
          ศิลปะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์  (ร.ส.พ.) .

          ไม่มีความคิดเห็น:

          แสดงความคิดเห็น

          ป้ายกำกับ (จำนวนเรื่อง)

          โปรแกรมครูบ๋อม (69) เกี่ยวกับครูบ๋อม (64) เรียนคณิตศาสตร์ (56) ฝากเผยแพร่บทคัดย่องานวิจัย (43) Form/ข้อเสนอแนะ (32) การวัดและประเมินผล (24) ตรีโกณมิติ (23) วลี กลุ่มคำ แผนภาพ (20) สวนข้างหน้าต่าง (20) เกษตรเกินไม่เป็นตัวอย่าง (20) ยุทธวิธีการสอนของครูบ๋อม (19) SGS (18) เทคโนโลยีและนวัตกรรม (17) ปพ.5 (.xlsx) (16) โจทย์คณิตศาสตร์ (16) Classroom (14) คำอธิบายรายวิชา (14) สถิติและการวิจัย (14) แผนการจัดการเรียนรู้ (13) ความคิดเห็นของครูบ๋อม (11) วิทยฐานะและการประเมิน (11) ฟังก์ชันลอการิทึม (10) ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล (10) สิ่งที่น่าสนใจ (9) การประเมินภายในและภายนอก (7) ยุวกาชาด (7) จำนวนเชิงซ้อน (6) ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (6) มส (6) ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้/วัตถุประสงค์ (5) SDQ (3) เวกเตอร์ (3) การจัดหมู่ (2) ค32101 (2) ค32201 (2) จำนวนจริง (2) พหุนาม (2) ร่วมรณรงค์/เทศกาล (2) O - Net (1) STAD (1) ZipGrade (1) ZipGrade การวัดและประเมินผล (1) การสร้าง (1) การเรียงสับเปลี่ยน (1) ความน่าจะเป็น (1) ทศนิยม (1) บันทึกข้อความ (1) ลอการิทึม (1) สมการพหุนาม (1) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (1) เลขยกกำลัง (1) เศษส่วน (1) เอกซ์โพเนนเชียล (1) แนะแนวประสาครูบ๋อม (1)

          บทความที่ได้รับความนิยมใน 7 วัน