วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การนำเสนอข้อมูลและการเตรียมการประเมินต่าง ๆ

     การนำเสนอข้อมูล
ที่มีความสวยงามทางกายภาพ
จัดทำขึ้นเพื่อติดโชว์
หรือติดประกาศ
แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์
     ถ้าใช้เวลานาน
ในการดำเนินการ
หรือบริหารจัดการ
ถือเป็นความสวยงามที่ไร้ค่า
ย่อมไม่มีประโยชน์อันใด
"เกิดความสูญเปล่าทางความคิด"
     การนำเสนอที่ดี
ต้องนำเสนอด้วยคุณภาพ
มิใช่กายภาพ

ข้อสังเกตของการนำเสนอข้อมูลด้วย  Microsoft Office PowerPoint
     1. นำเสนอภาพเพื่อบอกเล่าเรื่องราว  แทนการพูดเป็นเวลานาน
     2. นำเสนอโดยใช้  Mind map  เพื่อสรุปสาระสำคัญ
     3. ใช้ภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเป็นพื้นหลังให้ปรากฎก่อน แล้วค่อยนำเสนอเนื้อหาที่เป็นข้อความในลำดับต่อไป
     4.  นำเสนอภาพนิ่งควรใช้เวลาในการแสดงที่เหมาะสมตามบริบทของเนื้อหา
     5.  ไม่ควรมีภาพการ์ตูน หรือแอนิเมชั่น หรือภาพอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา  เพราะอาจทำให้ฟังการนำเสนอสับสนได้
     6. ถ้ามีการเปิดคลิปวีดีโอ ถ้ามีเวลาน้อยให้ปิดเสียง แล้วบรรยายคลิป เลือกประเด็นสำคัญ  และข้ามแทร็คตามความจำเป็น
     7.  อย่าพูดเร็ว  (ข้อนี้  สำหรับครูบ๋อมแล้ว "กำลังปรับปรุงตัวเองอยู่" บางคนบอกว่ามันจะเป็นไปตามอายุ  ถ้าอายุมากขึ้นจะพูดช้าลง  อันนี้ต้องติดตามตอนต่อไป  เพราะอยู่ในระหว่างการพิสูจน์)
     8.  ข้อนี้สำคัญ  เมื่อจบการนำเสนอแล้วมีผู้ให้คำชี้แนะ  ให้รับฟังอย่างสงบ  "อย่าเถียง"  โดยเฉพาะกับท่านที่มีคำนำหน้าชื่อที่ไม่เหมือนคนทั่วไป
 
     นี้คือเกร็ดเล็ก ๆ น้อย  ๆ เกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลจากห้องเรียนครูบ๋อม  เพื่อให้ผู้ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ได้

ว่าด้วยการเตรียมการประเมินต่าง ๆ
  • โครงการควรประกอบด้วย  การประเมิน  และรายงานพร้อมมีภาพประกอบ เมื่อสิ้นปีการศึกษา
  • แผนการจัดการเรียนรู้ต้องมีการบันทึกหลังการสอนเป็นความเรียง  มีค่าสถิติทุกแผน  และเป็นปัจจุบัน
  • การจัดห้องเรียนประกอบด้วย  ปรัชญาของโรงเรียน  คำขวัญของโรงเรียน  สีประจำโรงเรียนพร้อมความหมายรูปทั้ง  3  สถาบัน (ชาิติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์)
  • อย่าเพิ่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบแต่ละมาตรฐานหรือตัวบ่งชี้  (สาเหตุ : เมื่อแต่งตั้งแล้วจะทำให้ทุกคนเกิดภาวะ  "ตัวกูของกู"  ทำให้เกิดความแตกสามัคคี  เพราะแต่ละคนก็อยากจะทำงานของตนเองให้เสร็จโดยเร็ว  เมื่อขอข้อมูลหรือเอกสารจากเพื่อนร่วมงานไม่ได้  จะมีการพูดจาไม่ดีต่อกัน)
  • วิเคราะห์ว่าแต่ละมาตรฐานหรือตัวบ่งชี้ต้องใช้เอกสารใดเป็นหลักฐานหรือ ร่องรอย  พร้อมบอกแหล่งที่มา  โดยการวิเคราะห์ร่วมกันทั้งโรงเรียน  สร้างแบบฟอร์มและรายการประเมินหรือคำถามของแบบสอบถาม  (5  ระดับ)
  • ฝ่ายบริหารออกคำสั่งแต่งตั้งกรรมการรวบรวมเอกสารหลักฐานเตรียมการประเมิน
  • ให้แต่ละกลุ่มงาน  หรือบุคคลที่ได้รับผิดชอบในการจัดเก็บหรือจัดเตรียมเอกสาร  หรือ  file  ให้ครบสมบูรณ์  ส่งกรรมการฝ่ายแผนงานและการประกันคุณภาพรวบรวมไว้
  • วิเคราะห์แบบสอบถาม  100  ข้อ  ว่าแต่ละข้อสามารถเชื่อมโยงเข้ากับตัวบ่งชี้หรือมาตรฐานใด  จากนั้นจึงทำการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อคำนวณหาค่าสถิติ
  • ทำการสำเนาเอกสารที่่มีเนื้อหาอยู่ในหลายมาตรฐานหรือตัวบ่งชี้ตามจำนวน  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดศึกษาชิงเอกสารกันเกิดขึ้น
  • แต่งตั้งคณะกรรมการดูแล  คัดแยกเอกสารแต่ละมาตรฐาน  และดำเนินการออกแบบโปสเตอร์นำเสนอข้อมูล  ขอแนะนำให้ใช้ป้ายไวนิลอิงค์เจ็ท (Vinyl Inkjet Outdoor)  เนื่องจากพับเก็บง่ายประหยัดพื้นที่  และอาจสามารถนำไปใช้ได้ในครั้งต่อไป  หรืออาจจะเก็บไว้เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการก็ได้  จากการสังเกตที่ผ่านมากรรมการไม่ค่อยสนใจดูโปสเตอร์มากนัก  เพราะที่สำคัญคือเอกสาร  ร่องรอย  และสำคัญยิ่งกว่าคือความจริง 
  • เปิดสไลด์ภาพการทำกิจกรรมต่าง ๆ นักเรียนในโรงเรียนที่ห้องพักกรรมการ  (มองแค่แวบเดียวก็เป็นคะแนน)
  • วีดีทัศน์  ในการนำเสนอโรงเรียน  ควรนำเสนอเป็นภาพนิ่งในแต่ละตัวบ่งชี้  ไม่ควรเป็นวีดีโอ  เพราะยืดเยื้อ  ไม่ควรนำเสนอค่าสถิติ  เพราะมีในเอกสารอยู่แล้ว  ควรนำเสนอภาพนิ่งให้ได้มาก ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้ายกำกับ (จำนวนเรื่อง)

โปรแกรมครูบ๋อม (69) เกี่ยวกับครูบ๋อม (64) เรียนคณิตศาสตร์ (56) ฝากเผยแพร่บทคัดย่องานวิจัย (43) Form/ข้อเสนอแนะ (32) การวัดและประเมินผล (24) ตรีโกณมิติ (23) วลี กลุ่มคำ แผนภาพ (20) สวนข้างหน้าต่าง (20) เกษตรเกินไม่เป็นตัวอย่าง (20) ยุทธวิธีการสอนของครูบ๋อม (19) SGS (18) เทคโนโลยีและนวัตกรรม (17) ปพ.5 (.xlsx) (16) โจทย์คณิตศาสตร์ (16) Classroom (14) คำอธิบายรายวิชา (14) สถิติและการวิจัย (14) แผนการจัดการเรียนรู้ (13) ความคิดเห็นของครูบ๋อม (11) วิทยฐานะและการประเมิน (11) ฟังก์ชันลอการิทึม (10) ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล (10) สิ่งที่น่าสนใจ (9) การประเมินภายในและภายนอก (7) ยุวกาชาด (7) จำนวนเชิงซ้อน (6) ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (6) มส (6) ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้/วัตถุประสงค์ (5) SDQ (3) เวกเตอร์ (3) การจัดหมู่ (2) ค32101 (2) ค32201 (2) จำนวนจริง (2) พหุนาม (2) ร่วมรณรงค์/เทศกาล (2) O - Net (1) STAD (1) ZipGrade (1) ZipGrade การวัดและประเมินผล (1) การสร้าง (1) การเรียงสับเปลี่ยน (1) ความน่าจะเป็น (1) ทศนิยม (1) บันทึกข้อความ (1) ลอการิทึม (1) สมการพหุนาม (1) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (1) เลขยกกำลัง (1) เศษส่วน (1) เอกซ์โพเนนเชียล (1) แนะแนวประสาครูบ๋อม (1)

บทความที่ได้รับความนิยมใน 7 วัน