วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

การกำหนดตัวเลือกที่ถูกต้องในข้อสอบแบบปรนัยและกระดาษคำตอบ (เฉพาะกิจ)

ปัญหา
  • ต้องการสร้างแบบทดสอบ  แบบปรนัย  ชนิด  4  ตัวเลือก  อย่างเป็นระบบ
แนวทางการแก้ปัญหา
  • กำหนดขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบ  แบบปรนัย  ชนิด  4  ตัวเลือก    ตามแบบของครูบ๋อม  (บางชุดครูบ๋อมก็สร้าง  6  ตัวเลือก  เพื่อป้องกันการเดาคำตอบ)
        1.  สร้างโจทย์  แสดงวิธีทำหรือแนวคิด
        2.  คัดลอกคำตอบที่ถูกต้อง  ใส่ในตัวเลือกทุกตัวตั้งแต่  1  ถึง  4
        3.  ทำการสุ่มแรเงาสีในตัวเลือกที่เป็นคำตอบที่ถูกต้อง  (เฉลย)  ในสัดส่วนที่เท่ากันทุกข้อ  เช่น  สุ่ม
  • ตัวเลือก  1  จำนวน  10  ข้อ
  • ตัวเลือก  2  จำนวน  10  ข้อ
  • ตัวเลือก  3  จำนวน  10  ข้อ
  • ตัวเลือก  4  จำนวน  10  ข้อ
        4.  แก้ไขตัวเลือกที่ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องทุกข้อ  ให้เป็นตัวเลือกลวงจนครบทุกข้อ

        5.  ทำตารางเฉลย  เพื่อเป็นการสรุปคำตอบทุกข้อ
        6.  พิมพ์แบบทดสอบ  "ฉบับแรเงาคำตอบ"  จำนวน  1  ชุด  เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของแบบทดสอบ
        7.  ลบแรเงาคำตอบ  แล้วพิมพ์แบบทดสอบ  "ฉบับสมบูรณ์"  จำนวน  1  ชุด  เพื่อส่งสำเนาตามจำนวนผู้เข้าสอบ
               หมายเหตุ  ข้อนี้  ถ้าลืมมีเสียหาย  "แก่ทางราชการ"  เพราะครูบ๋อมเคยทำมาแล้ว  "ลืมลบแรเงาคำตอบ"  โชคดีที่ยังไม่ได้เย็บชุด  และยังไม่ได้นำไปสอบ  งานนี้ครูบ๋อมต้องบอกกับเจ้าหน้าที่ห้องสำเนาเอกสารว่า  "ครูบ๋อมผิดไปแล้ว  ขออภัยเป็นอย่างสูง  ต่อไปข้าน้อยจะไม่ทำอย่างนี้อีกแล้ว"  และแล้วข้อสอบที่สำเนา  "ชุดแรเงาคำตอบ"  ก็กลายเป็นขี้เถ้า  (หมดกระดาษไปกี่รีมนั้นไม่บอก  ขอเป็นความลับของทางราชการน  บอกเพียงว่าแบบทดสอบชุดนั้นมีคำถาม  20  ข้อ  ใช้สอบจำนวน  4  ห้องเรียน)  จากนั้นจึงได้แก้ไขโดยการลบแรเงาคำตอบออกทุกข้อ  แล้วส่งสำเนาอีกครั้ง  งานเลยต้องรบกวนเจ้าหน้าที่ห้องสำเนาเอกสารเป็นครั้งที่สอง...ทำไงได้...ก็เป็น..."ครูเจ้าปัญหา"  ไง

ข้อสังเกต
              ข้อสอบแบบนี้มีทางเดียวที่จะเดาได้คือ  "ต้องรักเดียวใจเดียว"  คือครูบ๋อมหมายถึง  เลือกคำตอบข้อเดียวตั้งแต่คำถามข้อที่  1  จนถึงข้อสุดท้าย  ก็จะถูกแน่นอน  1  ใน  4  ของจำนวนข้อสอบทั้งหมด  งานนี้ต้องใช้ความรู้เรื่องความน่าจะเป็นให้เป็นประโยชน์
      

               กรณีที่ต้องการเก็บข้อมูลสำหรับทำการวิจัยในชั้นเรียน  เพื่อความสะดวกและประหยัดในการบันทึกข้อมูลจึงได้ออกแบบกระดาษคำตอบเฉพาะกิจ  ดังต่อไปนี้
คลิกเพื่อดูภาพใหญ่ หรือบันทึกภาพ แล้วดูแบบขยาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้ายกำกับ (จำนวนเรื่อง)

โปรแกรมครูบ๋อม (69) เกี่ยวกับครูบ๋อม (64) เรียนคณิตศาสตร์ (56) ฝากเผยแพร่บทคัดย่องานวิจัย (43) Form/ข้อเสนอแนะ (32) การวัดและประเมินผล (24) ตรีโกณมิติ (23) วลี กลุ่มคำ แผนภาพ (20) สวนข้างหน้าต่าง (20) เกษตรเกินไม่เป็นตัวอย่าง (20) ยุทธวิธีการสอนของครูบ๋อม (19) SGS (18) เทคโนโลยีและนวัตกรรม (17) ปพ.5 (.xlsx) (16) โจทย์คณิตศาสตร์ (16) Classroom (14) คำอธิบายรายวิชา (14) สถิติและการวิจัย (14) แผนการจัดการเรียนรู้ (13) ความคิดเห็นของครูบ๋อม (11) วิทยฐานะและการประเมิน (11) ฟังก์ชันลอการิทึม (10) ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล (10) สิ่งที่น่าสนใจ (9) การประเมินภายในและภายนอก (7) ยุวกาชาด (7) จำนวนเชิงซ้อน (6) ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (6) มส (6) ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้/วัตถุประสงค์ (5) SDQ (3) เวกเตอร์ (3) การจัดหมู่ (2) ค32101 (2) ค32201 (2) จำนวนจริง (2) พหุนาม (2) ร่วมรณรงค์/เทศกาล (2) O - Net (1) STAD (1) ZipGrade (1) ZipGrade การวัดและประเมินผล (1) การสร้าง (1) การเรียงสับเปลี่ยน (1) ความน่าจะเป็น (1) ทศนิยม (1) บันทึกข้อความ (1) ลอการิทึม (1) สมการพหุนาม (1) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (1) เลขยกกำลัง (1) เศษส่วน (1) เอกซ์โพเนนเชียล (1) แนะแนวประสาครูบ๋อม (1)

บทความที่ได้รับความนิยมใน 7 วัน