วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ปฏิทินและแผนการปฏิบัติงานในระบบ SGS

ปัญหา
  • "ครูบ๋อม  ครูเจ้าปัญหา"  นอกจากจะสอนแล้วยังได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานพิเศษคือการเป็น Admin ในระบบ SGS ของโรงเรียน โดยปกติจะไม่ชอบวางแผนการทำงานเดิม ๆ หลายครั้ง  กล่าวคือจะยอมเสียเวลาวางแผนการทำงานเป็นเวลานาน เพื่อให้การทำงานครั้งต่อไปเร็วมากขึ้นกว่าเดิม
  • 2  ปีแล้วที่โรงเรียนใช้ระบบ SGS แบบเต็มรูปแบบ ในปีแรกทั้ง Admin  และ  User  ออกอาการมึน ๆ เมา ๆ พอ ๆ กัน เพราะตอนที่ไปอบรมครั้งแรก ครั้งใหญ่ Server ใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง สุดท้ายกลับมาแบบมึน ๆ เมา ๆ เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง อะไร ๆ ย่อมไม่ดีที่สุด การเปลี่ยนแปลงต้องค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ต้องไปส่องหาวิธีการใช้งานใน Youtube จากครูที่มีจิตอาสา Share ไว้ให้ศึกษาและขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
  • สิ่งที่ได้รับจากการอบรมครั้งนั้น มากที่สุดกลับไม่ใช่เนื้อหาในการอบรม หากแต่เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ว่าจะเลือกใช้โปรแกรมใดในงานทะเบียน-วัดผลของโรงเรียน หลักการเลือก ณ ตอนนั้นคือโปรแกรมที่สามารถใช้งานแบบ Real time  สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง มีการพัฒนาตนเองแบบพลวัต (Dynamic) โรงเรียนส่วนใหญ่เลือกใช้และเป็นคำสั่งจากส่วนกลาง ในการอบรมส่วนกลางเสนอทางเลือกให้ใช้โปรแกรมแบบ Offline และ Online จากการวิเคราะห์และปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน จึงได้ข้อสรุปว่าเลือกใช้โปรแกรมแบบ Online จากวันนั้นจนถึง ณ ตอนนี้ คิดว่าเป็นการเลือกที่ถูกต้องแล้ว เพราะต่อมาส่วนกลางก็ได้ยกเลิกการใช้โปรแกรมแบบ Offline
  • ตอนที่นำโปรแกรมแบบ Online มาใช้ในโรงเรียนก็ได้เตรียมใจไว้แล้วว่าผู้นำการเปลี่ยนแปลงย่อมต้องพร้อมรับ "ดอกไม้และก้อนอิฐ" อันเป็นสิ่งที่จะเลี่ยงไม่ได้
  • พอเข้าปีที่ 3 ระบบได้พิสูจน์แล้วว่า เริ่มดีขึ้นตามลำดับ ครูส่วนใหญ่ในโรงเรียนเริ่มปรับตัวเข้าใจการทำงานกับระบบมากขึ้น มีเพียงส่วนน้อยแค่คนสองคนเท่านั้นที่ยังไม่พยายาม อันเป็นเรื่องปรกติธรรมดาของทุกโรงเรียนที่จะมีกลุ่มคนพิเศษเหล่านี้
  • ระบบ SGS มีการทำงาน 2 ช่วงเวลาคือ "ก่อนกลางภาคและกลางภาค"  และ  "หลังกลางภาคและปลายภาค" ทั้งนี้เพื่อลดภาระการทำงานของ Server ที่ส่วนกลาง ซึ่งมีครูและนักเรียนทั้งประเทศเข้าใช้งาน แน่นอนที่สิ่งสำคัญในการทำงานคือการมีสำนึกรับผิดชอบในการปฏิบัติงานตามช่วงเวลาดังกล่าวที่ Admin ระดับโรงเรียนกำหนดโดยรับคำสั่งมาจากส่วนกลาง
  • แม้ว่าส่วนกลางจะให้สิทธิ์ Admin ระดับโรงเรียนเปลี่ยนช่วงเวลาสำหรับการบันทึกข้อมูลได้ แต่จากการทดลองเปลี่ยนช่วงเวลาการบันทึกข้อมูลที่ไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาตามแผนการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้เพื่อคนส่วนน้อย
  • กลับพบว่าทำให้คนส่วนใหญ่เสียสิทธิ์เสียเวลาเสียโอกาสในการปฏิบัติงานทั้งที่ทำตามหน้าที่อันพึงรับผิดชอบตั้งแต่ตอนต้น นอกจากนี้แล้วยังทำให้คนส่วนใหญ่เกิดความสับสนวุ่นวายเกี่ยวกับช่วงเวลาในการทำงาน
  • แต่หากไม่ทำการเปลี่ยนช่วงเวลา ผลเสียที่ได้รับจะตกอยู่กับนักเรียนของครูผู้สอนที่ไม่ทำตามหน้าที่อันพึงรับผิดชอบ
  • เพราะเป็นองค์กรเดียวกันจะทำอย่างไรได้ ต้องมีแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหานี้ หรือปัญหาอาจจะอยู่ที่ Admin เพราะ Admin เป็น "ครูเจ้าปัญหา" จากการเริ่มต้นเขียน Blog ณ ตอนนี้น่าจะมีประมาณ 500 กว่าปัญหาแล้ว หรือควรเปลี่ยน Admin ระดับโรงเรียน เนื่องจากไร้ความสามารถ?
แนวทางการแก้ปัญหา
ปฏิทินทั่วไปคลิก "เดือน"


แผนการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลระบบและครูผู้สอน
(วัน/เดือน/ปี เปลี่ยนแปลงตามภาคเรียน/ปีการศึกษา)

ภาระงานของครูผู้สอน
          (ห้อง 0  หมายถึง นักเรียนที่  "ย้ายสถานศึกษา")  ตรวจสอบ/แจ้งแก้ไขคะแนนเต็มรายวิชา, บันทึกผลการเรียนก่อนกลางภาคและกลางภาค, บันทึกผลการเรียนหลังกลางภาคและปลายภาค
          ถ้าระบบไม่รวมคะแนนในช่วงของการบันทึกคะแนนก่อนกลางภาคและกลางภาค  เมื่อเปลี่ยนช่วงการบันทึกคะแนนเป็นหลังกลางภาคและปลายภาคแล้วให้ครูผู้สอนทดลองกรอกคะแนนปลายภาคล่วงหน้าสัก 1 คะแนน แลัวบันทึก  แล้วลบออก แลัวบันทึก  ถ้าเกิดการรวมคะแนน  จะพบว่าระบบจะรวมให้ตอนที่ครูบันทึกคะแนนปลายภาค  และในแต่ละวิชาต้องมีนักเรียนลงทะเบียนไม่เกิน  70  คนต่อกลุ่ม  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะตอนที่ครูผู้สอนบันทึกคะแนนอินเทอร์เน็ตอาจไม่เสถียร
          ก่อนสอบวัดผลปลายภาคเรียน 1 สัปดาห์ พิมพ์ มส ที่ช่อง Remark สำหรับนักเรียนที่มีเวลาเรียนไม่ถึง 80%, ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (แนะแนว, เพื่อสาธารณะประโยชน์, ลูกเสือ/ยุวกาชาด/ผู้บำเพ็ญประโยชน์/นักศึกษาวิชาทหาร) ตามที่ได้รับมอบหมายในระบบ SGS, นำเอกสารบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (เล่มปกสีขาว) ของกิจกรรมแนะแนว/ชุมนุม/ลูกเสือ/ยุวกาชาด/ผู้บำเพ็ญประโยชน์/นักศึกษาวิชาทหาร ส่งงานวัดและประเมินผล, ส่งแบบสรุปผลการประเมินกิจกรรมชุมนุมมายัง Admin เพื่อประเมินต่อไป เนื่องจากใช้ 1 รหัสชุมนุม (ชุมนุมวิชาการ)/1 ภาคเรียน/1 ระดับชั้น/1 สิทธิ์ครูผู้ประเมิน
          ครูทำบุญก่อนสอบวัดผลปลายภาคเรียน 2 วัน ส่งผลให้บันทึกผลการเรียนหลังกลางภาคและปลายภาคตลอดจนสั่งพิมพ์ ปพ.5.pdf ไม่ได้
          การสอบวัดผลปลายภาคเรียน : กรณีครูผู้สอนส่งข้อมูลนักเรียนผิดคนในช่อง  Remark ให้ครูผู้สอนส่งแบบแจ้งยกเลิกรายชื่อนักเรียนไม่มีสิทธิ์สอบ, กรณีครูผู้สอนพิมพ์ มส ที่ช่อง Remark ไม่ทันเวลาที่กำหนด ส่งแบบแจ้งรายชื่อนักเรียนไม่มีสิทธิ์สอบกรณีส่งเข้าระบบไม่ทันตามกำหนด
          (หมดเวลาทำบุญ) บันทึกผลการเรียนหลังกลางภาคและปลายภาคผลการเรียน  ร  บันทึกที่ช่อง  Remarkบันทึกการขาดเรียนของนักเรียนเป็นครั้งสุดท้าย (กรณีบันทึกการขาดเรียนแบบรวมในวันสุดท้ายของการสิ้นภาคเรียน  ให้กรอกคำว่า  "ขาดเรียนสะสม" ในช่องหมายเหตุ)ทบทวนรายการประเมิน/ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ข้อ / การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน 5 ข้อ  หากไม่ปรากฎรายชื่อนักเรียนคลิก  "สร้าง", ส่งเอกสาร ปพ.5 ที่สั่งพิมพ์จาก PDF พร้อมระบุวันลงนามอนุมัติ/ส่งเอกสารบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (เล่มปกสีขาว)
          ครูผู้สอนที่จะส่งผลงานเพื่อประเมิน / ประกวดใด ๆ ให้รับผิดชอบเก็บไฟล์  ปพ.5  ในวิชาที่ตนเองสอน  โดยการสำรองข้อมูลเก็บไว้เอง  เพื่อจะได้ไม่เสียเวลามาขอข้อมูลในภายหลังต่อไป
          กรณีพบความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการไม่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำส่งกลุ่มบริหารงานวิชาการ ยื่นแบบบันทึกสำหรับครูผู้สอนแจ้งบันทึกคะแนนเพิ่มเติม ที่มีการลงนามของครูผู้สอนและผู้อำนวยการโรงเรียนก่อนปิดระบบจัดทำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อใช้อ้างอิงการเปลี่ยนแปลงข้อมูลคะแนนกับนักเรียนต่อไป
          กรณีมีเอกสารข้อร้องเรียนจากนักเรียนอันเนื่องมาจากความผิดพลาดของครูผู้สอน ภายใน 30 วันนับจากวันอนุมัติผลการเรียน/วันที่กลุ่มบริหารงานวิชาการแจก ปพ.6 หากเป็นจริงตามข้อร้องเรียนให้ครูผู้สอนแก้ไขคะแนนให้ถูกต้องแล้วนำส่งกลุ่มบริหารงานวิชาการต่อไป
  • การส่งเอกสารรายงานผลการเรียนของรายวิชา (1 เล่ม/1 ห้อง)
          1. เอกสารบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (เล่มปกสีขาว) : เช็คเวลาเรียนและที่มาของคะแนน
          2. สั่งพิมพ์ ปพ.5 ในระบบ SGS (เมนู รายงาน - ปพ.5 - วันลงนามอนุมัติ - คลิก PDF) นำไปเย็บติดด้านหลัง ข้อ 1 แล้วนำส่งเพื่อตรวจสอบต่อไป
          3. กิจกรรมยุวกาชาด/ลูกเสือ/ผู้บำเพ็ญประโยชน์/นักศึกษาวิชาทหาร ประเมินผลแล้วสั่งพิมพ์ในระบบ SGS ดำเนินการตามข้อ 1 และ 2
          4. ข้อพึงระวัง : ผลการเรียน "มส" มีเวลาเรียน 100% หรือไม่ / นักเรียนที่ออกไปแล้วคุณลักษณะอันพึงประสงค์/การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนประเมินเท่าใด

ภาระงานของผู้ดูแลระบบ
  • ก่อนกลางภาคและกลางภาค
          (ภาคเรียนที่ 1)
          1 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม : ตรวจสอบระเบียนประวัติ/วุฒิการศึกษาฉบับจริงของนักเรียน ม.3 และ ม.6 จากข้อมูลสารสนเทศ - 13.ประวัตินักเรียน เชื่อมโยงข้อมูลสำหรับการตรวจสอบด้วยจดหมายเวียน,  รวจสอบสถานะทางการเรียน/จำนวนนักเรียน ม.3 และ 6, นำรายชื่อส่ง สทศ. เพื่อจัดห้องสอบต่อไป
          (ภาคเรียนที่ 2)
          10 - 31 ตุลาคม : ตรวจสอบนักเรียนที่เข้าสอบ  O-net/แจ้งเพิ่ม/ลดรายชื่อผู้เข้าสอบ
          เสร็จสิ้นก่อน  30 พฤศจิกายน : ส่ง GPA ม.6 (5 ภาคเรียน)
          (เปิดภาคเรียน) เสร็จสิ้นก่อน 16  ธันวาคม : 
          ขั้นเตรียมการ : ตรวจสอบสถานะทางการเรียนของนักเรียนจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอน, นักเรียนที่มีผลการเรียน มส เกือบทุกวิชาในภาคเรียน/นักเรียนที่ไม่ได้มาเรียนตั้งแต่เปิดภาคเรียนแต่ครูผู้สอนให้มีผลการเรียน / แจ้งครูผู้สอนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบเพื่อยกเลิกการบันทึกคะแนน/ ยกเลิกการลงทะเบียนเรียน, ตรวจสอบเลขประจำตัวล่าสุดของนักเรียน, วิเคราะห์การจัดลำดับห้องเรียนสำหรับนักเรียนย้ายเข้าในแต่ละระดับชั้น ให้แต่ละห้องมีจำนวนนักเรียนที่ใกล้เคียงกัน, กำหนดเลขประจำตัวนักเรียนสำหรับนักเรียนย้ายเข้า, จัดเตรียมแบบบันทึกการเลือกเรียนสำหรับนักเรียนย้ายเข้า (กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร และวิชาเพิ่มเติมระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น),  บันทึกข้อมูลประวัติส่วนตัว/การศึกษาของนักเรียนย้ายเข้า, ตรวจสอบสถานะทางการเรียนของนักเรียนในทุกชั้น, บันทึกข้อมูลนักเรียนย้ายออก, จัดทำไฟล์ต้นแบบรายชื่อทั้งโรงเรียน / นับจำนวนนักเรียน, ดำเนินการเลื่อนชั้น / จัดห้องเรียนโดยกรอกรหัสนักเรียนที่มีสถานะเรียนเท่านั้น  จากนั้นจึงเลือกเรียงจากเลขประจำตัว-จัดเลขที่-ทุกระดับ
          (ภาคเรียนที่ 1) กรอกรหัสนักเรียนที่มีสถานะเรียนเท่านั้น (การจัดห้องเรียนนักเรียนใหม่ ม.1 และ 4 บันทึกชี้แจงกรณีถูกแทรกแซงการปฏิบัติงานและจัดเตรียมแบบยื่นคำร้องขอเปลี่ยนห้องเรียน กรณีการชี้แจงไม่เป็นผล), จัดครูที่ปรึกษาในแต่ละห้องตามคำสั่งโรงเรียน
          (ภาคเรียนที่ 2) กรอกรหัสนักเรียนทุกสถานะทางการเรียนในแต่ละห้อง (Admin - Utility - 36.ใช้เลขที่เดิม) แล้วจึงลบนักเรียนที่ไม่มีสถานะเรียนออกไปเพื่อจะได้เลขที่เดิมของภาคเรียนที่  1 เนื่องจากประหยัดการสำเนาใบรายชื่อนักเรียน ในแต่ละปีการศึกษาจะสำเนา 1 ครัั้ง/ 1 ห้อง/ 500 แผ่น ดังนั้นจึงไม่มีการเลื่อนเลขที่กรณีนักเรียนย้าย/ออก/แขวนลอยและเพื่อป้องกันการสับสนเกี่ยวกับเลขที่ของนักเรียนปรับปรุงข้อมูลสถานะครูย้ายเข้า/ออก, ตรวจสอบ/จัดครูที่ปรึกษาในแต่ละห้องตามคำสั่งโรงเรียน
          (ภาคเรียนที่ 1 - 2)
          ส่งข้อมูลจำนวนนักเรียนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน, ส่งเอกสารผลการเรียนที่เป็นปัญหาครั้งที่ 1 ให้งานวัดและประเมินผล, ส่งไฟล์ข้อมูลผลการเรียนที่เป็นปัญหาไปยังครูผู้สอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้สำหรับเตรียมการแก้ผลการเรียนที่เป็นปัญหาครั้งที่ 1, กำหนดครูที่ปรึกษาประเมินกิจกรรมแนะแนวและกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์/ครูผู้สอนประเมินกิจกรรมลูกเสือ/ยุวกาชาด/ผู้บำเพ็ญประโยชน์/นักศึกษาวิชาทหารตามความเหมาะสมโดยอ้างอิงข้อมูลจากคำสั่งมอบหมายการสอนของโรงเรียน
          ขั้นดำเนินการ : 
          การลงทะเบียนเรียนหากพบรหัสรายวิชา/ชื่อรายวิชา/หน่วยการเรียน/ระดับชั้นที่เรียน ไม่ตรงกับในระบบให้ตรวจสอบโครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนเพื่อหาข้อสรุป, ลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่นักเรียนเรียนเหมือนกันตามคำสั่งมอบหมายการสอนของโรงเรียน, ลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่นักเรียนเรียนไม่เหมือนกันมีแนวทางในการดำเนินการดังนี้
          (ภาคเรียนที่ 1)
          วิชาเพิ่มเติม ม.ต้น : ลงทะเบียนเรียนตามข้อมูลที่ได้จากงานหลักสูตรโรงเรียนดำเนินการจัดเก็บ
          กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ลูกเสือ/ยุวกาชาด/ผู้บำเพ็ญประโยชน์/นักศึกษาวิชาทหาร) : ม.2-3,5-6 : ใช้มูลจาก รายงาน - ปพ.5 (PDF) ส่วน ม.1,4 ลงทะเบียนเรียนตามข้อมูลที่ได้จากงานหลักสูตรโรงเรียนดำเนินการจัดเก็บ
          (ภาคเรียนที่ 2)
          วิชาเพิ่มเติม ม.ต้น : ตรวจสอบชื่อวิชาเพิ่มเติมจากภาคเรียนที่ 1 (สารสนเทศ - สถิติการประเมินผล ประเภทวิชา : 2 วิชาเพิ่มเติม/กลุ่มสาระวิชา โดยเลือกทีละกลุ่มสาระ นำข้อมูลที่ได้เชื่อมโยงกับคำสั่งมอบหมายการสอนภาคเรียนที่ 2 (วิชาและครูผู้สอน) ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความต่อเนื่องจากภาคเรียนที่ 1 และนำข้อมูลที่ได้เชื่อมโยงกับบัญชีรายชื่อนักเรียนที่เรียนวิชาเพิ่มเติมในภาคเรียนที่  1 จากผลการเรียน-ผลการเรียน ส่งออกไฟล์ (xls) แล้ว Pivot Table ในไฟล์ต้นแบบรายชื่อเพิ่มเติมภาคเรียนที่ 2 หรืออาจใช้ข้อมูลจาก รายงาน - ปพ.5 (xls) ได้
          กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน : ตรวจสอบชื่อครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ลูกเสือ/ยุวกาชาด/ผู้บำเพ็ญประโยชน์/นักศึกษาวิชาทหาร) ม.1-6 ในภาคเรียนที่ 1 จากสารสนเทศ - (รายวิชา-ครูผู้สอน) - กลุ่มสาระ : 9 กิจกรรม/ชั้น : ทั้งหมด ส่งออกไฟล์ (xls) แล้วนำข้อมูลที่ได้เชื่อมโยงกับรายชื่อนักเรียนที่เรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในภาคเรียนที่  1 จากรายงาน - รายชื่อนักเรียน - รายวิชา - ผู้สอน และเลือกกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ต้องการ /ส่งออก PDF เพื่อตรวจสอบรายชื่อนักเรียน จากนั้นจึงส่งออก xls เพื่อตัดต่อข้อมูลทุกห้อง/กลุ่มรวมกันแล้ววาง (แบบพิเศษเลือกค่า) ในไฟล์ต้นแบบรายชื่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ภาคเรียนที่ 2 ทีละกิจกรรม หรืออาจใช้ข้อมูลจากรายงาน - ปพ.5 (xls)
          จากนั้นจึงดำเนินการลงทะเบียนเรียนในวิชาเพิ่มเติม/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (รายวิชาที่นักเรียนเรียนไม่เหมือนกัน), ส่งรายชื่อนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเพิ่มเติม/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้ครูผู้สอนตรวจสอบ, ตรวจสอบ/แก้ไขกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ม.3 และ  ม.6 ทั้ง 6 ภาคเรียน
          (ภาคเรียนที่ 1 - 2)
          คะแนนเต็มรายวิชา : เลือกงานวัดผล - คะแนนเต็มรายวิชา - บันทึกคะแนนเต็ม - คำอธิบายการ Copy - (เลือกกลุ่มสาระ) - ทั้งระดับทุกกลุ่ม - Copy - เปลี่ยน ม. จนครบทุก ม. แล้วตรวจสอบทุกกลุ่มสาระทุกระดับ  ถ้าไม่มีคะแนนเทียบวิชาใกล้เคียงกัน, ตรวจสอบคะแนนเต็มที่งานวัดผล - คะแนนเต็มรายวิชา - แสดงคะแนนเต็ม ทุกวิชาต้องมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน  (กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนระบบไม่ได้กำหนดให้บันทึกคะแนนเต็ม), เชื่อมโยงข้อมูลไปยังตรวจสอบ/เก็บรวบรวม/บันทึก/แก้ไขคะแนนเต็มรายวิชา, บันทึกข้อความตรวจสอบ/แก้ไขคะแนนเต็มรายวิชาในเวลาที่กำหนด, บันทึกข้อความแจ้งครูผู้สอนที่ขาดความรับผิดชอบ, บันทึกรายงานผู้อำนวยการโรงเรียน (พ้น(ผิด)หน้าที่ Admin ในการกำกับติดตาม)เปิดระบบการบันทึกข้อมูลก่อนกลางภาคและกลางภาค
          ขั้นแก้ปัญหา : แก้ผลการเรียนที่เป็นปัญหาครั้งที่ 1 (การแก้  มส  ระบบจะให้ลงข้อมูลได้เพียงช่องเดียวคือ  "เรียนซ้ำ"), แก้ไขการบันทึกคะแนนเต็ม กรณีที่ครูผู้สอนเปลี่ยนแปลงคะแนนเต็ม, สั่งพิมพ์ ปพ.1.pdf  (4  ภาคเรียน  และ  5  ภาคเรียน)  เป็นรายห้องเพื่อเป็นการสำรองข้อมูล  กรณีที่ระบบไม่สามารถ Download ข้อมูลได้
  • หลังกลางภาคและปลายภาค
          (ภาคเรียนที่ 2)
          เสร็จสิ้นก่อนการสอบ O-Net  1  สัปดาห์ : นำบัตรผู้เข้าสอบจาก สทศ. แจกนักเรียนและติดประกาศสถานที่สอบ
          สอบ O-Net : ม.3 วันเสาร์ -อาทิตย์ ที่ 3 - 4 กุมภาพันธ์ 2561, ม.6 วันเสาร์ -อาทิตย์ ที่ 3 - 4 มีนาคม 2561
          ประกาศผล : ม.3 วันจันทร์ ที่ 26 มีนาคม 2561/ม.6 วันเสาร์ ที่ 3 เมษายน 2561)
          (ภาคเรียนที่ 1 - 2)
          XXX ที่ X กันยายน 256X  / XXX ที่ X กุมภาพันธ์ 256X : ส่งเอกสารผลการเรียนที่เป็นปัญหาครั้งที่ 2 ให้งานวัดและประเมินผล, ส่งไฟล์ข้อมูลผลการเรียนที่เป็นปัญหาไปยังครูผู้สอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้สำหรับเตรียมการแก้ผลการเรียนที่เป็นปัญหาครั้งที่  2
           XXX ที่ X กันยายน 256X  / XXX ที่ X กุมภาพันธ์ 256X : เปิดระบบการบันทึกผลการเรียนหลังกลางภาคและปลายภาค  (ส่งผลให้ไม่สามารถบันทึกผลการเรียนก่อนกลางภาคและกลางภาคได้)
          ก่อนสอบวัดผลปลายภาคเรียน 2 สัปดาห์ : ตรวจสอบการบันทึกผลการเรียนก่อนกลางภาคและกลางภาค, บันทึกข้อความแจ้งครูที่ขาดความรับผิดชอบ, บันทึกรายงานผู้อำนวยการโรงเรียน (พ้น(ผิด)หน้าที่  Admin  ในการกำกับติดตาม),  จัดทำแบบสรุปผลการประเมินกิจกรรมชุมนุมให้ครูผู้สอนประเมินแล้วนำส่ง Admin เพื่อประเมินในระบบต่อไป เนื่องจากใช้ 1 รหัสชุมนุม (ชุมนุมวิชาการ)/1 ภาคเรียน/1 ระดับชั้น/1 สิทธิ์ครูผู้ประเมิน  โดยมีแบบลงชื่อรับเอกสารการประเมินชุมนุมวิชาการและแบบบันทึกการเพิ่มหรือยกเลิกรายชื่อนักเรียนที่เรียนชุมนุมวิชาการ
          ก่อนสอบวัดผลปลายภาคเรียน 1 สัปดาห์ : ดึงฐานข้อมูลผลการเรียน มส ที่ได้จากครูผู้สอนบันทึกข้อมูลในช่อง Remark สำหรับนักเรียนที่มีเวลาเรียนไม่ถึง 80% ส่งงานวัดและประเมินผล, ให้ครูทำบุญก่อนสอบวัดผลปลายภาคเรียน 2 วัน (ส่งผลให้ไม่สามารถบันทึกผลการเรียนหลังกลางภาคและปลายภาคตลอดจนสั่งพิมพ์ ปพ.5.pdf ได้), หมดเวลาทำบุญ เปิดระบบการบันทึกผลการเรียนหลังกลางภาคและปลายภาค (ส่งผลให้ไม่สามารถบันทึกผลการเรียนก่อนกลางภาคและกลางภาคได้), ทบทวนการจัดส่งเอกสารรายงานผลการเรียนของนักเรียนกับครูผู้สอน/การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์/การประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน, แจ้งให้ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (แนะแนว/เพื่อสาธารณะประโยชน์/ลูกเสือ/ยุวกาชาด/ผู้บำเพ็ญประโยชน์/นักศึกษาวิชาทหาร) ตามที่ได้รับมอบหมายในระบบ SGSกำหนดวันลงนามอนุมัติผลการเรียน (XXXX ที่ 5 ตุลาคม 256X / XXXX ที่ 25 มีนาคม 256X)แก้ผลการเรียนที่เป็นปัญหาครั้งที่ 2 (การแก้  มส  ระบบจะให้ลงข้อมูลได้เพียงช่องเดียวคือ  "เรียนซ้ำ"), บันทึกข้อความขอตรวจสอบ "การลงนามรับรอง" การแก้ผลการเรียนที่เป็นปัญหาครั้งที่  1  และ  2  ส่งไปยังครูผู้สอน (เดิมครูผู้สอนเป็นผู้ส่งข้อมูลการแก้ผลการเรียนที่เป็นปัญหามายังงานวัดและประเมินผล พบปัญหาครูผู้สอนบางท่านไม่ส่งข้อมูลจนทำให้เกิดผลกระทบต่อนักเรียน จึงแก้ปัญหาให้นักเรียนเป็นผู้นำส่งข้อมูลแทนครูผู้สอน  กลับพบปัญหานักเรียนปลอมลายมือชื่อครูผู้สอน จึงแก้ปัญหาด้วยการบันทึกข้อความตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ  (1 ครูผู้สอน : 1 ซองใสใส่แฟ้ม : 1 คลิปหนีบกระดาษ) คำถาม : ทำไมไม่ตรวจสอบเป็นรายครั้งไปโดยเฉพาะในครั้งที่  1  ถ้านักเรียนปลอมลายมือชื่อครูผู้สอน  นักเรียนจะได้มีเวลาและโอกาสในการแก้ตัวในครั้งที่  2  ต่อไป  คำตอบ : เพราะเป็นครูจึงต้องให้บทเรียนกับนักเรียนที่กระทำการทุจริตปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ จะได้เกิดการเรียนรู้ตระหนักถึงผลการกระทำของตน)
          (ภาคเรียนที่ 2)
          ให้หัวหน้าห้องชั้น ม.3 และ 6 นำข้อมูลผลการเรียนที่เป็นปัญหาที่เหลืออยู่จาก 5 ภาคเรียนไปแจกให้กับสมาชิกในห้องของตน
  • หมดเวลาการบันทึกข้อมูล
          (ภาคเรียนที่ 1 - 2)
          ขั้นเตรียมการ : ตรวจสอบการบันทึกผลการเรียนก่อนกลางภาคและกลางภาค/หลังกลางภาคและปลายภาคตรวจสอบผลการเรียนที่เป็นปัญหา (ผลการเรียนว่าง : ครูลืมบันทึกผลการเรียนรายวิชา/ผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/นักเรียนที่หายไปตั้งแต่เปิดภาคเรียน/ระหว่างภาคเรียน) แล้วส่งข้อมูลให้งานวัดและประเมินผล/ผู้ที่เกี่ยวข้องกำกับติดตาม/ส่งไฟล์หรือเอกสารแจ้งข้อมูลความผิดพลาดไปยังครูผู้สอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ตรวจสอบเพื่อแก้ไขก่อนปิดระบบการบันทึกผลการเรียนของนักเรียน, ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง/บันทึกข้อความแจ้งครูที่ขาดความรับผิดชอบรายงานผู้อำนวยการโรงเรียน (พ้น(ผิด)หน้าที่ Admin ในการกำกับติดตาม)  ใช้ฐานข้อมูลจากข้อมูลสารสนเทศ - ปพ.5  ของ ม.1 - 6  โดยตรวจสอบ  1  วัน  กำกับติดตามดูแล  1  วัน  แก้ไขข้อมูล  1  วัน
          ขั้นดำเนินการ : ปิดระบบการบันทึกผลการเรียนจัดทำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอน, ส่งผลสัมฤทธิ์.pdf จำนวน 8 ไฟล์ (กลุ่มสาระการเรียนรู้) ไปยังครูผู้สอน/หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง, พิมพ์ ปพ.6
          ขั้นแก้ปัญหา : จัดเตรียมแบบบันทึกสำหรับครูผู้สอนแจ้งบันทึกคะแนนเพิ่มเติมและแบบบันทึกสำหรับครูผู้สอนแจ้งบันทึกเพิ่มเติมผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/คุณลักษณะอันพึงประสงค์/การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน (รายห้อง)ครูผู้สอนส่งแบบบันทึกสำหรับครูผู้สอนแจ้งบันทึกคะแนนเพิ่มเติม (กรณีพบความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการไม่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำส่งกลุ่มบริหารงานวิชาการ), รับเอกสารข้อร้องเรียนจากนักเรียนอันเนื่องมาจากความผิดพลาดของครูผู้สอน ภายใน 30 วันนับจากวันอนุมัติผลการเรียน/วันที่กลุ่มบริหารงานวิชาการแจก ปพ.6, สรุปข้อมูลครูผู้สอนแจ้งแบบบันทึกสำหรับครูผู้สอนแจ้งบันทึกคะแนนเพิ่มเติม/ข้อร้องเรียนจากนักเรียน และนำเอกสารเรียนเสนอผู้อำนวยการโรงเรียนลงนามรับรองข้อมูล, แก้ปัญหากลุ่มคนพิเศษสร้างไว้รวบรวมเอกสารให้นักเรียนและผู้ปกครองตรวจสอบข้อมูลต่อไปสั่งพิมพ์ ปพ.1.pdf  (4  ภาคเรียน  และ  5  ภาคเรียน)  เป็นรายห้องเพื่อเป็นการสำรองข้อมูล  กรณีที่ระบบไม่สามารถ Download ข้อมูลได้
          (ภาคเรียนที่ 2)
          ติดประกาศผลการเรียนที่เป็นปัญหา (เฉพาะ ม.3 และ 6)
          เสร็จสิ้นก่อน  15 มีนาคม : ส่ง GPA ม.6 (6 ภาคเรียน)  ไปยังส่วนกลางและงานแนะแนว  และส่งรายชื่อนักเรียนที่ไม่จบการศึกษาไปยังงาน  DMC  ของโรงเรียน

          หลักการทวง 3 ระดับ  คือ  ระดับที่ 1 น้องทวงพี่ (ทวงแบบอ่อนน้อม) ระดับที่ 2 พี่ทวงน้อง (ทวงแบบหยิกแกมหยอก) ระดับที่ 3 ทวงด้วยลายลักษณ์อักษร
  • การจบการศึกษาของนักเรียน
          ขั้นเตรียมการ : ดำเนินการข้อมูลของนักเรียนที่เรียนซ้ำชั้น (จบไม่พร้อมรุ่นมาขอจบพร้อมรุ่นปัจจุบัน)ตรวจสอบบัญชี เล่มที่/ชุดที่/เลขที่ ปพ.1, กำหนด/บันทึก ชุดที่/เลขที่ ปพ.1 ให้กับนักเรียนที่จบการศึกษาโดยเรียงตามลำดับเลขประจำตัวนักเรียนให้กับ (1) นักเรียนที่มาขอจบทีหลังพร้อมรุ่นปัจจุบัน (รุ่นน้อง)  (2)  นักเรียนจบพร้อมรุ่น (ปีการศึกษาปัจจุบัน)  (3) นักเรียนไม่จบพร้อมรุ่น (ปีการศึกษาปัจจุบัน)
          ขั้นดำเนินการ (จบพร้อมรุ่น) : ติดประกาศให้นักเรียนได้รับทราบและส่งไฟล์ข้อมูลผลการเรียนที่เป็นปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  และ  6 ให้ครูผู้สอนตรวจสอบ, แก้ผลการเรียนที่เป็นปัญหาครั้งที่ 1 (สำหรับ ม.3 และ ม.6), ประมวลผลสรุปคุณลักษณะอันพึงประสงค์/การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจากผลการประเมินรายวิชา คลิกครั้งเดียวเพราะอาจทำให้ข้อมูลที่กรอกเองเกิดการเปลี่ยนแปลง (ตรวจสอบผลการประมวลนักเรียนที่ปรับปรุง/ไม่ผ่าน) , ตรวจสอบการจบการศึกษา (หาสาเหตุของการไม่จบ ลำดับที่ 1 ผลการเรียนเป็นปัญหา  ลำดับที่ 2 ผลการประเมินทั้ง 3 ด้าน), กำหนดวันที่จบการศึกษา ภายในสิ้นเดือนมีนาคม 256X  บันทึกวันที่จบการศึกษา/วันที่ออกจากโรงเรียน/เหตุที่ออกรายคน (ม.3 : จบการศึกษาภาคบังคับ  ม.6 : จบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน) (ห้ามบันทึกอัตโนมัติ เพราะอาจเกิดความคาดเคลื่อนของเลขที่ ปพ.1), ติดประกาศรายชื่อนักเรียนที่คาดว่าจะไม่จบพร้อมรุ่นและข้อมูลผลการเรียนที่เป็นปัญหา, ส่งไฟล์ข้อมูลผลการเรียนที่เป็นปัญหา (ม.3 และ ม.6) ให้ครูผู้สอนตรวจสอบ, ปรับปรุงคำนำหน้าชื่อนักเรียนตามอายุ, download ผลการสอบ O-net แล้วนำเข้าข้อมูล ปพ.1 หน้าที่ 2, วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลผลการสอบ O-net, ตรวจสอบข้อมูลครัั้งสุดท้าย, สรุปข้อมูลการจบการศึกษาเพื่อจัดเอกสารหลักฐานทางการศึกษา  แล้วจึงกำหนดวัน/เดือน/ปี ในหลักฐานการศึกษา  ได้แก่  วันอนุมัติจบ : ภายใน  31  มีนาคม,  วันออกจากโรงเรียน : บันทึกผลการสอบ  O-NET  เสร็จเรียบร้อย,  ผู้อำนวยการโรงเรียนลงนามรับรองใน  ปพ.1 : บันทึกผลการสอบ  O-NET  เสร็จเรียบร้อย,  ผู้อำนวยการโรงเรียนลงนามรับรองใน  ปพ.3 : วันอนุมัติจบ  โดยปรกติ  วันอนุมัติจบ = วันออกจากโรงเรียน
          ขั้นดำเนินการ (จบไม่พร้อมรุ่น) : แก้ผลการเรียนที่เป็นปัญหาครั้งที่  2 (ม.3 และ ม.6), ตรวจสอบการจบการศึกษา (หาสาเหตุของการไม่จบ ลำดับที่ 1 ผลการเรียนเป็นปัญหา  ลำดับที่ 2 ผลการประเมินทั้ง 3 ด้าน), กำหนดวันที่จบการศึกษา, บันทึกวันที่จบการศึกษา/วันที่ออกจากโรงเรียน/เหตุที่ออกรายคน (ม.3 : จบการศึกษาภาคบังคับ  ม.6 : จบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ใช้บันทึกการจบการศึกษาอัตโนมัติ  ในช่อง "ปพ.1 ชุดที่ เลขที่เริ่มต้น"  กรอกเลขที่เริ่มต้นของชุดที่จะใช้  โดยทั่วไปจะได้  50  แผ่น/เล่ม  ในบรรทัดแรกจะเป็นเลขที่ที่เรียงต่อจากปีการศึกษาที่แล้ว  เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจึงสั่งพิมพ์  ปพ.3  เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง  (ชุดที่  0000  ศูนย์จำนวนสี่ตัว)
            ตัวอย่าง
            นักเรียนจบไม่พร้อมรุ่นปีการศึกษา  2558  กำลังจะจบในปีการศึกษา  2560  วันเข้าเรียนต้องเป็นวัน/เดือน/ปี  พ.ศ.  2556  ตามเดิมที่บันทึกในสมุดทะเบียนนักเรียน  หัว  ปพ.1  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  ปีการศึกษา  2556  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  ปีการศึกษา 2557  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  ปีการศึกษา  2560  (จาก  2558  เปลี่ยนเป็น  2560)  ในการเข้าไปดำเนินการข้อมูลในระบบ  SGS  จะเข้าในปี  2558  หรือ  2560  ก็ได้  และเลือกเมนูนักเรียน > ตรวจสอบนักเรียนซ้ำชั้น  เปลี่ยนปีการศึกษา  2558  เป็น  2560  ทั้งภาคเรียนที่  1  และ  2  แล้วบันทึก
            ถ้านักเรียนจบไม่พร้อมรุ่นปีการศึกษา  2558  ขอจบในปีการศึกษา 2561 ก็ให้เปลี่ยนจาก  2558  เป็น  2561  โดยเปลี่ยนเฉพาะในปีการศึกษาสุดท้าย  เพราะรายงาน  ปพ.3  ในปีการศึกษานี้
          ช่วงเวลาการจบการศึกษา
          1) ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมของทุกปี (1 พฤศจิกายน – 31 มีนาคม) เป็นการจบการศึกษาในภาคเรียนที่ 2
          2) ช่วงเดือนเมษายนของทุกปี (1 – 30 เมษายน) หรือภาคฤดูร้อน เป็นการจบการศึกษาในภาคเรียนที่ 2
          3) ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี (1 – 15 พฤษภาคม) เป็นการจบการศึกษาในภาคเรียนที่ 2
          4) ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี (16 พฤษภาคม – 30 ตุลาคม) เป็นการจบการศึกษาในภาคเรียนที่ 1
  • การรับนักเรียนใหม่
          นักเรียน ม.3 โรงเรียนเดิมสมัครเรียน ม.4 : ตรวจสอบ/ปรับปรุง Form สำหรับการรับสมัคร, ขอความอนุเคราะห์ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประชาสัมพันธ์และแนะนำช่วยเหลือนักเรียนที่สนใจสมัครผ่าน Form, สรุปข้อมูลการรับสมัคร
          นักเรียนที่จบการศึกษา ป.6 และ ม.3 จากโรงเรียนอื่นสมัครเรียน : งานทะเบียนจัดเตรียมเอกสารการรับสมัครนักเรียนใหม่ (A4)  แบบบันทึกการรับนักเรียนใหม่ / กระดาษ  Legal : ใบสมัครเข้าศึกษาต่อ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ใบสมัครเข้าศึกษาต่อ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ใบมอบตัวนักเรียน
          การจัดการข้อมูล :
          ตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการรับสมัครและมอบตัว  บันทึก/วิเคราะห์ข้อมูลการรับสมัคร/การรับรายงานตัว (มอบตัว) /การจัดห้องสอบ/การจัดห้องเรียน (Google Sheet แบบ Sharing file ข้อมูล Real time เฉพาะกลุ่มปฏิบัติงาน)
          เมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว  แจ้งให้งาน  DMC  ของโรงเรียนมารับเอกสารหลักฐานประกอบการรับสมัครและมอบตัวเพื่อนำไปบันทึกข้อมูลต่อไป


************ข้อความ (จะได้ไม่ต้องร่างหลายครั้ง)************
  • ช่วงเวลาที่ครูผู้สอนบันทึกข้อมูลคะแนนของนักเรียน
          ขณะนี้ครูผู้สอนกำลังดำเนินการบันทึกข้อมูลคะแนนของนักเรียน
จึงขอปิดระบบการดูผลการเรียนเป็นการชั่วคราว  และจะเปิดระบบ
การดูผลการเรียนในวัน...........ที่.......เดือน.....................พ.ศ.  256.......
จึงขออภัยเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ หากมีความจำเป็นเร่งด่วน
ติดต่อได้ที่กลุ่มบริหารงานวิชาการ
  • สิ้้นภาคเรียน
ประชาสัมพันธ์ถึงนักเรียนและผู้ปกครอง
          ให้นักเรียนตรวจสอบความถูกต้อง ประวัตินักเรียนและผลการเรียน
ถ้าพบความผิดพลาดแจ้งที่ห้องกลุ่มบริหารงานวิชาการ
          ทำไมนักเรียนต้องแจ้งความผิดพลาดของข้อมูล
          1. ชื่อ - สกุล และเลขประจำตัวประชาชนไม่ถูกต้อง
จะส่งผลต่อข้อมูลที่ใช้ในการสอบ/ประกาศผลการสอบ O-Net
          2. ผลการเรียนในแต่ละรายวิชา ประวัติส่วนตัว
และประวัติการศึกษาไม่ถูกต้อง จะส่งผลต่อเอกสารทางการศึกษา
โดยเฉพาะเอกสารที่แสดงว่านักเรียนจบการศึกษา (ปพ.1)
          นักเรียนที่มีความประสงค์จะย้ายสถานศึกษาให้ยื่นคำขอย้ายสถานศึกษา
ภายในสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียน กรณีที่มีผลการเรียน 0,  ร,  มส,  มผ
ดำเนินการแก้ให้แล้วเสร็จก่อนยื่นคำขอย้ายสถานศึกษา
          หากมีข้อสงสัยหรือทักท้วงเกี่ยวกับผลการเรียน
นักเรียน/ผู้ปกครองสามารถขอและยื่นเอกสาร
"แบบบันทึกนักเรียนขอตรวจสอบผลการสอบ/คะแนน"
ได้ที่กลุ่มบริหารงานวิชาการ  เพื่อขอตรวจสอบผลการสอบ
/คะแนนกับครูผู้สอน  ภายใน  30  วันนับจากวันอนุมัติผลการเรียน
/วันที่กลุ่มบริหารงานวิชาการแจก ปพ.6
เพื่อผลประโยชน์ของนักเรียนเป็นสำคัญ  หากพบความผิดพลาด
จะได้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องต่อไป (วันอนุมัติผลการเรียน
ภาคเรียน 1/2560  วันที่  5  เดือนตุลาคม  พ.ศ. 2560)
          สำหรับนักเรียนที่ติด  "มผ"  กิจกรรมชุมนุม  (ชุมนุมวิชาการ)
ถ้าเห็นว่าผลการประเมินไม่ถูกต้อง ให้มาตรวจสอบข้อมูล
ที่กลุ่มบริหารงานวิชาการ
         สถิติครูผู้สอนแจ้งแบบบันทึกสำหรับครูผู้สอนแจ้งบันทึกคะแนนเพิ่มเติม 
(กรณีพบความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการไม่ตรวจสอบ
ความถูกต้องก่อนนำส่งกลุ่มบริหารงานวิชาการ)
(แบบบันทึกสำหรับครูผู้สอนแจ้งบันทึกคะแนนเพิ่มเติม)

ร่างบันทึกข้อความที่เกี่ยวข้อง
เรื่อง
เรียน
อ้างถึง  ศธ  ลงวันที่
สิ่งที่ส่งมาด้วย
  • บันทึกข้อความ  แจ้งเปิด/ปิด  ตรวจสอบ/แก้ไขการกำหนดคะแนนเต็ม
  • เรื่อง  แจ้งเปิด/ปิดการบันทึกข้อมูลในระบบ  SGS  และตรวจสอบ/แก้ไขการกำหนดคะแนนเต็ม/รายชื่อนักเรียนที่เรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/วิชาเพิ่มเติมชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (กรณีเลือกเรียน)
  • สิ่งที่ส่งมาด้วย
    • 1. เอกสารข้อมูลจากระบบ  SGS  สำหรับตรวจสอบคะแนนเต็ม / รหัสวิชา / วิชา    ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการสอน            จำนวน  1  ชุด
    • 2. บัญชีรายชื่อนักเรียนที่เรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน            จำนวน  1  ชุด
    • 3. บัญชีรายชื่อนักเรียนวิชาเพิ่มเติมชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (กรณีเลือกเรียน) จำนวน  1  ชุด
  • ด้วยงานจีพีเอ  กลุ่มบริหารงานวิชาการ  โรงเรียนXXXXX  ได้กำหนดเปิด/ปิดการบันทึกข้อมูลในระบบ  SGS  ดังนี้
    • วันXXXX  ที่  XX  เดือนXXXXXXXX  พ.ศ.  256X  เปิดระบบการบันทึกข้อมูล “ก่อนกลางภาคและกลางภาค”
    • วันXXXX  ที่  XX  เดือนXXXXXXXX  พ.ศ.  256X เปิดระบบการบันทึกข้อมูล “หลังกลางภาคและปลายภาค”  (ส่งผลให้ไม่สามารถบันทึกข้อมูลก่อนกลางภาคและกลางภาคได้)
  • ดังนั้นเพื่อให้การบันทึกข้อมูลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  จึงขอความอนุเคราะห์ครูผู้สอนได้ตรวจสอบ/แก้ไขการกำหนดคะแนนเต็ม/รายชื่อนักเรียนที่เรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/วิชาเพิ่มเติมชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (กรณีเลือกเรียน)  ตามเอกสารดังแนบมาพร้อมนี้  โดยข้อมูลที่ได้อ้างอิงจากคำสั่งโรงเรียนXXXXX   ที่ XX/256X  เรื่องมอบหมายการสอน  ประจำภาคเรียนที่  X  ปีการศึกษา 256X  เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วให้ส่งคืนมายังกลุ่มบริหารงานวิชาการ  ภายในวันXXXX  ที่  XX  เดือนXXXXXXXX  พ.ศ.  256X  (การกำหนดน้ำหนักคะแนนเต็มของรายวิชาที่มีครูผู้สอนหลายท่าน  ให้ตกลงกันให้เรียบร้อยก่อน  แล้วจึงส่งผลการแก้ไขข้อมูลต่อไป)  และกรณียืนยันข้อมูลเดิมไม่ต้องนำส่งคืน  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากท่านด้วยดีเหมือนเช่นเคย  จึงขอขอบพระคุณมา   ณ  โอกาสนี้
  • บันทึกข้อความ รายงานสรุปข้อมูลครูผู้สอนแจ้งบันทึกคะแนนเพิ่มเติม
  • เรื่อง  สรุปข้อมูลครูผู้สอนแจ้งบันทึกคะแนนเพิ่มเติมและเรียนเสนอเอกสารเพื่อได้ลงนามรับรองข้อมูล
  • สิ่งที่ส่งมาด้วย
    • 1. สรุปความถี่ข้อมูลครูผู้สอนแจ้งบันทึกคะแนนเพิ่มเติม จำนวน  1  ชุด
    • 2. เอกสารครูผู้สอนแจ้งบันทึกคะแนนเพิ่มเติม จำนวน  1  ชุด
  • ด้วยข้าพเจ้า………………………………………………...ตำแหน่งครู  วิทยฐานะ……....………  พร้อมด้วย………………………………………………...ตำแหน่งครู  วิทยฐานะ……....………  และ  ………………………………………………...ตำแหน่งครู  วิทยฐานะ……....………  ปฏิบัติงานในกลุ่มบริหารงานวิชาการ  เป็นผู้ดูแลระบบ  SGS  ในระดับโรงเรียน  ขอรายงานสรุปความถี่ข้อมูลครูผู้สอนแจ้งบันทึกคะแนนเพิ่มเติม (กรณีพบความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการไม่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำส่งกลุ่มบริหารงานวิชาการ)  โดยมีนักเรียนได้รับการบันทึกคะแนนเพิ่มเติม  ได้แก่  รายวิชาหลัก   XXX  คน  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  XXX  คน  รวมทั้งสิ้น  XXX  คน  ตามเอกสารดังแนบมาพร้อมนี้  และได้นำเอกสารครูผู้สอนแจ้งบันทึกคะแนนเพิ่มเติม  (กรณีพบความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการไม่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำส่งกลุ่มบริหารงานวิชาการ)  เพื่อเรียนเสนอท่านผู้อำนวยการโรงเรียนได้ลงนามรับรอง  ก่อนผู้ดูแลระบบ  SGS  ในระดับโรงเรียนจะดำเนินการแก้ไขข้อมูลตลอดจนแจ้งให้นักเรียนและผู้ปกครองได้ตรวจสอบข้อมูลต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้ายกำกับ (จำนวนเรื่อง)

โปรแกรมครูบ๋อม (69) เกี่ยวกับครูบ๋อม (64) เรียนคณิตศาสตร์ (56) ฝากเผยแพร่บทคัดย่องานวิจัย (43) Form/ข้อเสนอแนะ (32) การวัดและประเมินผล (24) ตรีโกณมิติ (23) วลี กลุ่มคำ แผนภาพ (20) สวนข้างหน้าต่าง (20) เกษตรเกินไม่เป็นตัวอย่าง (20) ยุทธวิธีการสอนของครูบ๋อม (19) SGS (18) เทคโนโลยีและนวัตกรรม (17) ปพ.5 (.xlsx) (16) โจทย์คณิตศาสตร์ (16) Classroom (14) คำอธิบายรายวิชา (14) สถิติและการวิจัย (14) แผนการจัดการเรียนรู้ (13) ความคิดเห็นของครูบ๋อม (11) วิทยฐานะและการประเมิน (11) ฟังก์ชันลอการิทึม (10) ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล (10) สิ่งที่น่าสนใจ (9) การประเมินภายในและภายนอก (7) ยุวกาชาด (7) จำนวนเชิงซ้อน (6) ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (6) มส (6) ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้/วัตถุประสงค์ (5) SDQ (3) เวกเตอร์ (3) การจัดหมู่ (2) ค32101 (2) ค32201 (2) จำนวนจริง (2) พหุนาม (2) ร่วมรณรงค์/เทศกาล (2) O - Net (1) STAD (1) ZipGrade (1) ZipGrade การวัดและประเมินผล (1) การสร้าง (1) การเรียงสับเปลี่ยน (1) ความน่าจะเป็น (1) ทศนิยม (1) บันทึกข้อความ (1) ลอการิทึม (1) สมการพหุนาม (1) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (1) เลขยกกำลัง (1) เศษส่วน (1) เอกซ์โพเนนเชียล (1) แนะแนวประสาครูบ๋อม (1)

บทความที่ได้รับความนิยมใน 7 วัน